หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,072
Page Views 1,509,301
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธ์"ลิขสิทธิ์ (COPYRIGHT)"

        หากกล่าวถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญานั้นประกอบด้วยกฎหมายหลายฉบับ  ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537, พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2542, พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2543, พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545, พ.ร.บ.คุ้มครองแบบผังวงจรรวม พ.ศ.2543  เป็นต้น

           แต่ ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 โดยขอเสนอข้อสังเกตสั้นๆอันเกี่ยวกับคำว่า “ลิขสิทธิ์” ดังนี้

“ลิขสิทธิ์” คืออะไร ?

ลิขสิทธิ์ คือ สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆในการทำซ้ำหรือดัดแปลง, เผยแพร่, ให้เช่า, ให้ประโยชน์, อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิเกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น

          “ลิขสิทธิ์” แตกต่างจาก ”กรรมสิทธิ์” หรือไม่ ? อย่างไร ?

“ลิขสิทธิ์” คือ สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆในการทำซ้ำหรือดัดแปลง, เผยแพร่, ให้เช่า, ให้ประโยชน์, อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิเกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น

          ส่วน  “กรรมสิทธิ์” คือ สิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้นกับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (ป.พ.พ.มาตรา 1336)

ดังนั้น ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นนำงานไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตโดยเป็นสิทธิที่กฎหมายมีให้แก่ผู้สร้างสรรค์งานหรือผู้เป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ ต่างจากกรรมสิทธิ์ที่มีเพียงสิทธิใช้สอยจำหน่ายจ่ายโอน ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในวัตถุที่มีรูปร่างจึงอาจจะไม่ใช่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

ตัวอย่าง  แดงซื้อหนังสือมา แดงก็มีเฉพาะกรรมสิทธิ์ในหนังสือ แดงมีสิทธิใช้สอย จำหน่ายจ่ายโอน รวมถึงให้เช่า ติดตามเอาคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ และแม้ไม่พอใจแดงก็มีสิทธิจะทิ้งหรือทำลายหนังสือนั้นได้ แต่แดงไม่มีสิทธิที่จะนำหนังสือนั้นไปพิมพ์ซ้ำแล้วนำไปขาย เพราะสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิของผู้สร้างสรรค์หรือผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หากแดงกระทำเช่นนั้นย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่นได้

มีงานประเภทใดหรือไม่? ที่ไม่มี “ลิขสิทธิ์”   (จะได้ copy ได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น)

งานดังต่อไปนี้  เป็นงานที่ไม่มีลิขสิทธิ์

  1. ข่าว และข้อเท็จจริง
  2. รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
  3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานใดของรัฐ
  4. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย
  5. คำแปลและการรวบรวมของรัฐ

          เหตุที่งานดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์นั้น เพราะเป็นงานที่ราชการทำขึ้นและเป็นเรื่องที่ต้องส่งเสริมและเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปทราบ

          แต่กรณีก็มีข้อยกเว้น เพราะหากมีผู้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้นมาใหม่ด้วยความวิริยะ         อุตสาหะ เช่น หากเอกชนนำพระราชบัญญัติต่างๆมารวบรวมเป็นรูปเล่ม เอกชนซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์ก็จะกลายเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น

เมื่อเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์แล้ว  กฎหมายให้ความคุ้มครองงานนั้นอย่างไร   หรือจะต้องนำงานอันมี “ลิขสิทธิ์” ไปขอจดทะเบียนเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายหรือไม่ ?
กฎหมายบัญญัติให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์โดยอัตโนมัติ (automatic protection) ไม่มีแบบพิธี(non-formaility) ไม่ต้องนำงานไปขอจดทะเบียนเพื่อให้ได้รับความคุ้มครอง  (แม้จะมีระบบให้เจ้าของลิขสิทธิ์แจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาก็ตาม แต่การไม่แจ้งข้อมูลก็ไม่มีผลให้งานนั้นไม่ได้รับความคุ้มครองแต่อย่างใด)

ทั้งนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดให้มีระบบการแจ้งงานอันมีลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา  เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการสร้างสรรค์งานในวันที่มีการแจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา   ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้สร้างสรรค์งาน  เพราะ  มีหลักฐานชัดเจนของทางราชการว่า  ผู้สร้างสรรค์ได้แจ้งต่อทางราชการซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์งานตั้งแต่วันดังกล่าวซึ่งง่ายต่อการพิสูจน์  หากมีข้อพิพาทในศาล

          กรณีท่านประสงค์จะแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้ได้รับความคุ้มครอง มีขั้นตอนการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์โดยสังเขปดังนี้

           1.ผู้สร้างสรรค์ยื่นคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ โดยกรอกข้อมูล รายละเอียดต่างๆในแบบคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ (ลข. 01) พร้อมทั้งเตรียมเอกสารเพื่อใช้ประกอบการยื่นคำขอฯดังนี้

    (๑)  สำเนาคำขอ  จำนวน  ๑  ฉบับ
               (๒)  หนังสือรับรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
               (๓)  ผลงานหรือภาพถ่ายงานอันมีลิขสิทธิ์  จำนวน  ๑  ชุด
               (๔)  สำเนาบัตรประจำตัว  หรือสำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกิน  6  เดือนของเจ้าของลิขสิทธิ์
               (๕)  เอกสารอื่นๆ  (ถ้ามี)  เช่น  หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์  หนังสือตั้งตัวแทนหรือหนังสือมอบอำนาจ  สำเนาบัตรประจำตัวของตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจ  เป็นต้น

            2.เจ้าหน้าที่ฯพิจารณาและตรวจรับคำขอ  หากคำขอและเอกสารครบถ้วนถูกต้องตามระเบียบนี้  เจ้าหน้าที่จะรับคำขอไว้เพื่อดำเนินการต่อไป แต่ถ้าคำขอและเอกสารมีข้อบกพร่องในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ เจ้าหน้าที่จะปฏิเสธไม่รับคำขอ  และแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอรับไปดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนก่อน

            3.บันทึกข้อมูลคำขอ เมื่อเจ้าหน้าที่พิจาณาคำขอและหลักฐานว่าครบถ้วนตามระเบียบนี้แล้ว เจ้าหน้าที่จะบันทึกข้อมูลลงในทะเบียนข้อมูล 

            4.ออกหนังสือรับรอง

            5.ส่งหนังสือรับรองให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์

โดยยื่นคำขอฯ  ณ  กรมทรัพย์สินทางปัญญา
44/100 ถนน นนทบุรี 1 
ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร . 0-2547-4621-5 หรือ สายด่วน 1368

หรือบริการออนไลน์ผ่านเวบไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา www.ipthailand.org/ipthailand/
หรือมีปัญหาข้อสงสัยใด ๆ สอบถามได้ที่ สำนักกฎหมายนิติรัฐภูมิ จำกัด  โทร 02-5122319

ปณิฐญา  จิตต์ชนะ 

 

 

 

Tags :