หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,130
Page Views 1,509,359
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

การค้าระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ

          INCOTERMS นั้นย่อมาจาก คำเต็มว่า INternational COmmercial TERMS เป็น กฎข้อตกลงทางการค้าที่กล่าวในเรื่อง สิทธิ และความรับผิดชอบของ ระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย ในกระบวนการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวการส่งมอบสินค้าจาก ผู้ขาย ไปให้ผู้ซื้อว่าแต่ละฝ่ายต้องรับผิดชอบมีภาระหน้าที่ต้องกระทำอะไรบ้างในการ ส่งมอบ ตลอดจนถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่างๆ และความรับผิดชอบ ในเรื่องความเสียหายของสินค้าดังกล่าวหากเกิดขึ้น

          กฎ INCOTERMS นั้นต้นตำหรับในการออกกฎก็คือ ICC หรือ International Chamber of Commerce ที่ มีสำนักงานใหญ่ในกรุง Paris INCOTERMS นั้น ประกอบด้วยเทอมทั้งสิ้น 13 เทอม ในแต่ล่ะเทอมนั้นจะมีตัวอักษรย่อ 3 ตัวในแต่ล่ะเทอม ซึ่งตัวอักษร 3 ตัวดังกล่าว จะบ่งบอกให้เราทราบว่าตัวผู้ขาย และผู้ซื้อมีหน้าที่ทำอะไรกันบ้าง ซึ่งเงื่อนไข INCOTERMS นี้ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย หรือแม้กระทั่งตัวธนาคาร ยังใช้เงื่อนไข INCOTERMS ผิดๆ ถูกๆ อยู่มากเหมือนกันไม่ว่าจะเป็นการใช้ผิดประเภท หรือยังใช้อักษรย่อของบางเงื่อนไขที่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปแล้ว ปัจจุบัน(พ.ศ.2547 หรือ ค.ศ.2004) INCOTERMS ที่ใช้บังคับคือ INCOTERMS 2000 ซึ่งเริ่มใช่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 (ค.ศ.2000) ส่วนรุ่นก่อนหน้านี้คือ INCOTERMS 1990

เทอมทั้ง 13 เทอมมีดังนี้

EXW (Ex Work)
FCA (Free Carrier)
FAS (Free Alongside Ship)
FOB (Free On Board)
CFR (Cost and Freight)
CIF (Cost Indurance and Freight)
CPT (Carriage Paid To)
CIP (Carriage and Insurance Paid To)
DAF (Delivered At Frontier)
DES (Delivered Ex Ship)
DEQ (Delivered Ex Quay)
DDU (Delivered Duty Unpaid)
DDP (Delivered Duty Paid)

  1. EXW...(ชื่อสถานที่) หมายถึง ผู้ขายจะสิ้นสุดหน้าที่ /ภาระในการส่งมอบสินค้า เมื่อผู้ขายได้ทำการส่งมอบสินค้า ณ สถานที่ ที่ได้ตกลงกันไว้ เช่น ณ โรงเก็บสินค้า, โกดัง สินค้า ให้แก่ผู้ซื้อ โดยที่ผู้ขายไม่ต้องรับภาระในการบรรทุกสินค้าใส่ยานพาหนะที่ได้จัดเตรียมไว้ เพื่อการขนส่งจากผู้ซื้อ รวมถึงไม่ต้องยุ่งเกี่ยวใน เรื่องการผ่านพิธี การศุลกากรขาออก (นอกจากว่าได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น) ผู้ซื้อต้องรับหน้าที่ /ภาระในค่าใช้จ่าย และความเสียหายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่ได้รับสินค้าจากผู้ขายไปจนถึงปลายทาง ดังนั้นเทอมนี้ผู้ขายมีหน้าที่/ภาระรับผิดชอบน้อยที่สุด และเทอมนี้ไม่ควรใช้ หากผู้ซื้อไม่สามารถจัดการเกี่ยวกับ พิธีการขาออกได้เอง ไม่ว่าจะทางตรง หรือทางอ้อม หากเป็นเช่นนี้ควรตกลงกันในเทอม FCA จะเหมาะกว่า
  2. FCA...(ชื่อสถานที่ต้นทาง) หมายถึง ผู้ขายจะสิ้นสุดหน้าที่/ภาระส่งมอบสินค้า เมื่อผู้ขายได้ทำการผ่านพิธีการศุลกากรขาออก และส่งมอบสินค้าดังกล่าวให้แก่ ผู้รับขน (Carrier) ตามที่ได้ ตกลงกันไว้ ณ สถานที่/จุด ที่ระบุไว้หากสถานที่ดังกล่าวไม่ได้ตกลงกันไว้ชัดเจน ผู้ขาย สามารถถือเอาเมื่อผู้รับขนได้รับ สินค้าดังกล่าวไว้ในการครอบครองแล้วตามวิธีปฏิบัติในการค้า เมื่อผู้ขายได้ทำสัญญากับผู้รับขน แล้วก็ถือว่าสิ้นสุดความเสี่ยง และค่าใช้จ่าย ของผู้ขาย เทอมนี้สามารถใช้กับวิธีการขนส่งหลายทุกรูปแบบ
  3. FAS...(ชื่อท่าเรือต้นทาง) หมายถึง ผู้ขายจะสิ้นสุดการรับผิดชอบเมื่อการส่งมอบสินค้าให้ ณ ข้างกราบเรือที่จะขนส่งที่ท่าเรือ หรือในเรือลำเลียง ณ ท่าเรือที่ขนส่ง ส่วนผู้ซื้อจะต้องรับผิด ชอบในค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเสียหายของสินค้าจากจุดส่งมอบดังกล่าว เทอม FAS นี้ผู้ขายจะเป็นฝ่ายผ่านพิธีการ ศุลกากรขาออก (จุดนี้เป็นจุดที่แตกต่างไปจาก Incoterms1990) เทอมนี้ใช้กับการขนส่งทางทะเล หรือทางน้ำเท่านั้น
  4. FOB...(ชื่อท่าเรือต้นทาง) หมายถึง ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระรับผิดชอบเมื่อส่งมอบสินค้าผ่านกราบเรือไปแล้ว ณ ท่าเรือต้นทางดังกล่าว ส่วนผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบใน ค่าใช้จ่ายต่างๆ และความเสียหายของสินค้าเริ่มจากจุดส่งมอบ ดังกล่าวในการผ่านพิธีการศุลกากรขาออกเป็นหน้าที่ของฝ่ายผู้ขายเป็นฝ่าย ดำเนินการ เทอมนี้ใช้ได้กับการขนส่งทางทะเล หรือทางน้ำเท่านั้น และหากการขนถ่ายสินค้ามิได้ทำโดยการยกผ่านกราบเรือ เช่นการใช้ตู้ Container หรือใช้ยานพาหนะชนิดมีล้อเลื่อน ให้หลีกเลี่ยงเทอมนี้ ควรหันไปใช้เทอม FCA จะเหมาะ กว่า
  5. CFR...(ชื่อท่าเรือปลายทาง) หมายถึง ผู้ขายต้องทำการชำระค่าใช้จ่าย และค่าระวางเรือที่ใช้ขนส่งสินค้า จากต้นทางไปยังปลายทาง แต่ความเสี่ยงหากสินค้าเสียหาย รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจากสินค้าได้บรรทุกลงเรือแล้วจะเป็น ภาระ/หน้าที่ผู้ซื้อ นับจากสินค้าได้ถูกยกผ่านกราบเรือ ณ ท่าเรือ ดังกล่าวไป เทอมนี้ผู้ขายจะเป็นฝ่ายผ่านพิธีการศุลกากรขาออก เทอมนี้ใช้ได้กับการขนส่ง ทางทะเล หรือทางน้ำเท่านั้น และหากการขนถ่ายสินค้ามิได้ทำโดยการยกผ่านกราบเรือ เช่นการใช้ตู้ Container หรือใช้ยานพาหนะชนิดมีล้อเลื่อน ให้หลีกเลี่ยงเทอมนี้ ควรหันไปใช้เทอม CPT จะเหมาะ กว่า เทอมนี้ยังมักจะมีการใช้อักษรเป็น C&F หรือ CNF หรือ C AND F อยู่ซึ่ง การย่อดังกล่าวเค้าเลิกใช้กันแล้วน่ะ
  6. CIF...(ชื่อท่าเรือปลายทาง) หมายถึง ผู้ขายมีภาระหน้าที่เหมือนกับเทอม CFR เพียงแต่เพิ่มการทำประกันภัยทางทะเลให้แก่ ความเสียหายของ ผู้ซื้อสำหรับสินค้าที่อาจ จะเกิดเสียหายระ หว่างการขนส่ง ผู้ขายเป็นฝ่ายติดต่อทำประกันภัย และจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย ผู้ซื้อควรตระหนักไว้ว่าเทอม นี้ผู้ขายมีภาระ จัดหาประกันภัยในเงื่อนไขประกัน ภัยต่ำที่สุดหากมิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น และผู้ขายเป็นฝ่ายผ่านพิธีการศุลกากรขาออก เทอมนี้ใช้ได้กับการขนส่งทางทะเล หรือทางน้ำเท่านั้น และหากการขนถ่ายสินค้ามิได้ทำโดยการยกผ่านกาบเรือ เช่นการใช้ตู้ Container หรือใช้ยานพาหนะชนิดมีล้อ เลื่อน ให้หลีกเลี่ยงเทอมนี้ ควรหันไปใช้เทอม CIP จะ เหมาะกว่า
  7. CPT...(ชื่อสถานที่ปลายทาง) หมายถึง ผู้ขายเป็นฝ่ายชำระค่าระวางเรือที่ใช้ในการขนส่งสินค้าจากต้นทางไปยังปลาย ทาง หากสินค้าเกิดเสียหายขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจากสินค้าได้ถูกส่งมอบให้แก่ผู้รับขน ส่งแล้ว จะเป็นภาระหน้าที่ของผู้ซื้อเทอมนี้ผู้ขายเป็นฝ่ายผ่านพิธีการศุลกากรขาออก เทอมนี้สามารถใช้กับการขนส่งทุกรูปแบบรวมถึงการขนส่งหลายรูปแบบในคราวเดียว กัน
  8. CIP...(ชื่อสถานที่ปลายทาง) หมายถึง ผู้ขายมีภาระ/หน้าที่เหมือนเทอม CPT เพียง แต่เพิ่มการทำประกันภัยสินค้าให้แก่ความเสี่ยงของผู้ซื้อ สำหรับสินค้าที่เกิดเสียหาย ระหว่างการขนส่ง ผู้ขายเป็นฝ่ายติดต่อทำประกันภัย และจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย ผู้ซื้อควรตระหนักไว้ว่า เทอมนี้ผู้ขายมีภาระจัดหาประกันภัย ในเงื่อนไขประกันต่ำที่สุดหากมิได้ ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น และผู้ขายเป็นฝ่ายผ่านพิธีการศุลกากรขาออก เทอมนี้สามารถใช้ได้กับการขนส่งทุกรูปแบบ รวมถึงการขนส่งหลายรูปแบบในคราวเดียวกัน
  9. DAF...(ชื่อเขตแดน) หมายถึง ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระรับผิดชอบเมื่อได้ส่งมอบสินค้าผ่านพิธีการศุลกากรขาออก ณ เขตแดนที่ได้ตกลงกันไว้ โดยทั่วไปแล้วเทอมนี้ ใช้กับการขนส่งโดยทางบก/รถไฟ แต่ก็สามารถนำไปใช้กับการขนส่งประเภทอื่นๆได้เช่นกัน
  10. DES...(ชื่อท่าเรือปลายทาง) หมายถึง ผู้ขายจะสิ้นสุดหน้าที่/ภาระในการส่งมอบสินค้าเมื่อสินค้าได้ขนส่งให้ถึงผู้ ซื้อ ณ ท่าเรือปลายทาง และผู้ขายมีหน้าที่/ภาระ รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายต่างๆตลอดจนความเสียหายในตัวสินค้า จนกว่าจะถึงท่าเรือปลายทาง ส่วนการผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้า เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ เทอมนี้ใช้กับการขนส่งทางทะเล หรือทางน้ำเท่านั้น
  11. DEQ...(ชื่อท่าเรือปลายทาง) หมายถึง ผู้ขายจะสิ้นสุดหน้าที่/ภาระในการส่งมอบสินค้าเมื่อสินค้าได้ส่งมอบให้แก่ ผู้ซื้อ ณ ท่าเทียบเรือปลายทางตามที่ระบุไว้ และผู้ซื้อ มีหน้าที่ทำการผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้า ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งภาษี อากรต่างๆในการส่งมอบสินค้า (จุด นี้เป็นจุดที่แตกต่างไปจาก Incoterms1990) เทอมนี้ สามารถใช้กับการขนส่งทางทะเล หรือทางน้ำเท่านั้น
  12. DDU...(ชื่อสถานที่ปลายทาง) หมายถึง ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระ/หน้าที่ในการส่งมอบสินค้าเมื่อสินค้าได้ถูกขนส่งไปให้ ณ จุด/สถานที่ได้ตกลงกันไว้ในประเทศผู้ซื้อ และผู้ขายรับผิดชอบใน ความเสียหายของสินค้าหากเกิดขึ้นตลอด เส้นทางการขนส่งจนถึงปลายทาง ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆ และการผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้า แต่ไม่รวมถึงค่าธรรมเนียม ภาษี หรือค่าใช้จ่ายต่างๆในการผ่านพิธีการขาเข้า ซึ่งเป็นภาระผู้ซื้อ เทอมนี้สามารถใช้ได้กับการขนส่งทุกรูปแบบ
  13. DDP...(ชื่อสถานที่ปลายทาง) หมายถึง ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระ/หน้าที่ในการส่งมอบสินค้าเมื่อสินค้าได้ส่งมอบให้ ณ จุด/สถานที่ที่ได้ตกลงกันไว้ในประเทศผู้ซื้อ โดยรับผิด ชอบความเสียหาย ในสินค้าและค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงค่าธรรมเนียม ภาษี หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการส่งมอบสินค้าจนถึงปลายทางรวมถึงการผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้า เทอมนี้สามารถใช้ได้กับการขนส่งทุกรูปแบบ

Tags :