หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,059
Page Views 1,509,288
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

 สวัสดีครับคุณผู้อ่านทุกท่าน  สำหรับฉบับนี้  กระผมขออธิบายกฎหมายแรงงานซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก  สังเกตหัวข้อที่ผมจะเขียนนะครับ  คือ ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย  หากคุณผู้อ่านซึ่งเป็นนายจ้างอ่านบทความฉบับนี้ของกระผม ผมมีความมั่นใจว่านายจ้างจะต้องมีความรู้แน่นอน (หาทางไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย) และหากคุณผู้อ่านเป็นลูกจ้างก็จะต้องมีความรู้มากกว่านายจ้าง (หนทางที่จะได้รับค่าชดเชย)  เอาเป็นว่าขอให้คุณผู้อ่านทุกท่านได้รับความรู้ และประโยชน์ เพื่อเป็นหนและหาทางสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงานต่อไปละกันนะครับ ก้าวต่อไป



ภาพจาก : www.prphayao.prdnorth.in.th/ct/news/viewnews....


ก่อนอื่น เราไปดูตัวบทกฎหมายกันก่อนครับ

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.. ๒๕๔๑ 

มาตรา ๑๑๙ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่ง

กรณีใด ดังต่อไปนี้

() ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

() จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

() ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับวามเสียหายอย่างร้ายแรง

() ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบ

ด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง

นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือนหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

() ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็

ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

() ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

ในกรณี () ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้อง

เป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้

 

                        เมื่อเห็นตัวบทกฎหมาย เรามาว่ากันเป็น ฉ๊อต ๆ กันเลยครับ

กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายชดเชย

1.      ทุจริตต่อหน้าที่ และกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

หมายความว่าไง ทุจริตต่อหน้าที่ ก็หมายถึง การแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่ชอบ

ด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น  หรือ  ลูกจ้างได้อาศัย ฉวยโอกาสในการทำงานเพื่อหาช่องทางในการรับประโยชน์และทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เช่น ลูกจ้างเบิกค่าน้ำมัน ค่าเบี้ยเลี้ยง ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีสิทธิจะเบิกและได้รับเงินดังกล่าวไป  หรือ รับงานนอก  แอบใช้อุปกรณ์ของนายจ้าง เป็นต้น

                        ส่วนการกระทำความผิดอาญาแก่นายจ้าง หมายถึง การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นที่มีโทษทางอาญาโดยตั้งใจที่จะกระทำตัวตัวนายจ้าง เช่น ยื่นใบลาป่วยเท็จเพื่อเพิ่มวันลา ซึ่งถือว่าเป็นการปลอมเอกสาร หรือ ลูกจ้างรู้เห็นลูกจ้างอีกคนแอบเอาเงินของลูกค้าแล้วไม่ส่งให้แก่นายจ้าง แม้จะถือว่าไม่ได้กระทำเองแต่ลักษณะเป็นการสนับสนุน เช่นนี้ก็อยู่ในความหมายการกระทำความผิดอาญาแก่นายจ้างด้วยนะครับ

                        2.  จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย คือ การกระทำใด ๆ ที่ลูกจ้างประสงค์จะให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นตามความประสงค์ของลูกจ้างหรือไม่ก็ตามและไม่ว่านายจ้างจะได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใดก็ตาม เช่น สั่งให้ลูกน้องทิ้งงาน หยุดงานเพราะไม่ได้ค่าจ้าง  ละทิ้งหน้าที่จนทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เป็นต้นนะครับ

                        3.  ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ไม่ได้จงใจแต่เป็นการประมาทอย่างนี้ก็เข้าข่าย คือ ลูกจ้างปราศจากความระมัดระวังตามวิสัยของลูกจ้าง ไม่ว่าจะโดยตำแหน่งหรือวิชาชีพ จนกระทั่งเกิดความเสียหายแก่นายจ้างแต่ต้องประมาทอย่างร้ายแรงนะครับ ยกตัวอย่าง ลูกจ้างเป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ แจ้งผลการตรวจเลือดไม่ตรงตามอาการของผู้ป่วย และไม่ตรวจเลือดให้ครบตามรายการที่แพทย์สั่ง เป็นเหตุให้ผู้ป่วยได้รับความเสียหาย

 

                 สำหรับฉบับนี้  ขอฝากไว้หลัก ๆ 3 กรณี เหลืออีก 3 กรณี ต้องค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป เนื่องจากเนื้อหาในเรื่องนี้มีความสำคัญมาก หรือเป็นหัวใจของกฎหมายแรงงานกันเลยก็ว่าได้นะครับ  โปรดติดตามอ่านฉบับต่อไปด้วยนะครับ 

                หากคุณผู้อ่านทุกท่านสนใจข้อมูลกฎหมายแรงงาน หรือ มีข้อกฎหมายสอบถามเพิ่มเติม โปรดแจ้ง อีเมลล์ไว้ที่ boonchuay@law4v.com   สวัสดีครับ

บุญช่วย  สิทธิธรรม

ทนายความ

Tags :