หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,135
Page Views 1,509,364
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

บทสุดท้ายของการกระทำความผิด

บทสุดท้ายของการกระทำความผิด

                                                                   


                ที่ผ่านมาผมได้เคยกล่าวถึงเรื่องการกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่เมื่อผู้กระทำความผิดได้กระทำความผิดไปแล้วผลสุดท้ายคือจะต้องรับผิดหรือชดใช้ในความผิดที่ได้กระทำไปลงไป  ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา ได้มีบทกำหนดโทษในการลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิดไว้
5 โทษ ด้วยกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18  คือ

1.      ประหารชีวิต  

2.      จำคุก

3.      กักขัง

4.      ปรับ

5.      ริบทรัพย์สิน

            ซึ่งการจะลงโทษผู้กระทำความผิดด้วยโทษใดโทษหนึ่งตามที่กล่าวมา 5 สถานนั้น ในส่วนนี้ศาลจะเป็นผู้กำหนดโทษที่จะลงโทษ แต่การกำหนดโทษนั้นจะต้องพิจารณาจากตัวบทกฎหมายก่อนว่าการกระทำของผู้กระทำความผิด ได้กระทำความผิดตามบทบัญญัติกฎหมายมาตราไหนข้อหาอะไรเสียก่อน  ต่อมาต้องดูว่าในบทบัญญัตินั้น ได้กำหนดโทษในการลงโทษไว้สำหรับข้อหาหรือฐานความผิดนั้นไว้อย่างไรบ้าง เช่น ตามมาตรา 288 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี  เห็นได้ว่าความผิดฐานฆ่าผู้อื่นนั้น กฎหมายกำหนดโทษให้ลงโทษไว้เพียง 2 สถาน คือ ประหารชีวิต หรือ จำคุก หรือตามมาตรา 295 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ...ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายกฎหมายกำหนดโทษให้ลงโทษไว้เพียง 2 สถาน คือ จำคุก และ ปรับ แต่สามารถลงโทษได้ทั้งจำคุกและปรับได้ เมื่อทราบแล้วว่าความผิดนั้นกฎหมายกำหนดโทษที่จะลงโทษไว้กี่สถานแล้ว  ทีนี้ต้องมาดูในส่วนการขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปว่าศาลจะพิจารณาเห็นว่าผู้กระทำความผิดมีความผิดหรือไม่ ถ้าศาลพิจาณาแล้วเห็นว่าจำเลยมีความผิดตามบทบัญญัติกฎหมายมาตราใดแล้ว คราวนี้จะเป็นดุลพินิจของศาลโดยแท้ว่าควรจะกำหนดโทษใดสำหรับความผิดนั้นๆ  ตามความหนักเบาของข้อหาหรือฐานความผิด อย่างกรณีหากตัวผู้กระทำความผิดกระทำไปด้วยการบันดาลโทสะ กระทำไปด้วยความจำเป็น ศาลจะลดโทษตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติกฎหมายนั้นๆ ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลในการกำหนดโทษ หรือกรณีที่ผู้กระทำความผิดรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริง ศาลก็ใช้ดุลพินิจลดโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดได้  เช่นการลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 52 จากการลงโทษประหารชีวิตมาเป็นการจำคุกตลอดชีวิต หรือจากจำคุกตลอดชีวิตมาเป็นจำคุก 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 53 แต่ต้องอยู่ใช้ดุลพินิจอยู่บนบรรทัดฐานของโทษที่จะต้องกำหนดไว้ตามกฎหมายในบทบัญญัตินั้นๆที่กำหนดไว้ อย่างที่ยกตัวอย่างมาในเรื่องความผิดฐานฆ่าผู้อื่น กฎหมายกำหนดไว้เพียง  สถาน คือประหารชีวิต หรือ จำคุก ศาลจะใช้ดุลพินิจ ให้กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์ แทนไม่ได้ เมื่อเรารู้ว่าจะลงโทษผู้กระทำผิดด้วยโทษใดแล้ว คราวนี้เรามาดูวิธีการลงโทษบ้าง

1.      ประหารชีวิต  ในปัจจุบันนี้การประหารชีวิตผู้กระทำความผิดจะใช้วิธีการฉีดยาด้วยสารพิษให้ตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 19

2.      การจำคุก  คือการจองจำในเรือนจำของนักโทษ  เช่นเรือนจำกลางบางขวาง

3.      กักขัง  คือ การกักตัวผู้กระทำความผิดนั้นไว้ที่ใดที่หนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เช่นบ้านของผู้กระทำความผิดเอง โดยกำหนดเงื่อนไขไว้ว่าห้ามออกจากบริเวณบ้าน  ซึ่งบางท่านเข้าใจผิดว่าการกักขังเป็นการกักขังไว้ที่สถานีตำรวจ

4.      ปรับ   มี 2 วิธี คือ

                        4.1 การปรับในชั้นศาล คือเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ปรับตามจำนวนนั้น                                 
                        4.2 การปรับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกรณีที่ผู้กระทำความผิดยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดที่ได้กระทำให้แก่พนักเจ้าหน้าที่ ถือซึ่งถือว่าเป็นกรณีคดีอาญาเลิกกันแล้ว  สิทธิการดำเนินคดีอาญาระงับไป

5.      ริบทรัพย์สิน   มี 2 กรณีเช่นกัน คือ                              

                        5.1 การริบทรัพย์สินอย่างเด็ดขาด ถึงแม้ว่าจำเลยที่ถูกฟ้องจะไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องก็ตาม ศาลก็มีคำสั่งให้ริบได้แต่ต้องเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดเช่นยาเสพติดปืนเถื่อนของหนี
ภาษี                                                                                                                     

                        5.2 การริบทรัพย์สิน โดยดุลพินิจของศาล จะริบได้นั้นต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าทรัพย์สินนั้น  เป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้กระทำความผิด  เช่นปืนที่ใช้สำหรับฆ่าคน  มีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด เช่นอุปกรณ์ไว้สำหรับลักทรัพย์  หรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด  เช่นทรัพย์ที่ได้มาจากการทำธุรกิจผิดกฎหมาย   ส่วนเงินที่โกงรัฐบาลมา กรณีนี้เป็นเรื่องการริบหรือยึดทรัพย์กลับคืนมา                                                                                                                    
                     จากที่ผมได้กล่าวมานี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว  ต่อไปจะเป็นขั้นตอนของวิธีการบังคับตามคำพิพากษาต่อไป คราวหน้ากระผมจะมากล่าวถึงวิธีการลงโทษโดยละเอียดต่อไป

 สิรวิญช์  แสนเกตุ

ผู้เรียบเรียง

Tags :