หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,058
Page Views 1,509,287
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

การเสียภาษีของคณะบุคคล

การเสียภาษีของคณะบุคคล


ตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดหน่วยภาษีที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้  4  หน่วย  ได้แก่  บุคคลธรรมดาผู้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี  กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง  และคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนที่มิใช่นิติบุคคล

            ความหมายคำว่า  คณะบุคคล  ประมวลรัษฎากรมิได้นิยามความหมายของคำว่าคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลไว้โดยเฉพาะ  กรณีจึงต้องใช้ความหมายโดยเทียบเคียงจากคำว่าห้างหุ้นส่วนสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา  1025  มาใช้  ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่จำกัด  ดังนั้นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรเป็นเพียงกลุ่มบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปรวมกันเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากร  ซึ่งมีสถานะเกี่ยวกับภาษีอากรเช่นเดียวกับบุคคล  และห้างหุ้นส่วนสามัญ  มีหน้าที่ต้องชำระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร  มาตรา 56  โดยผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลไม่ต้องยื่นแบบประเมินภาษีเงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล  แต่บุคคลหรือหุ้นส่วนในคณะบุคคลทุกคนยังมีหน้าที่รับผิดในกรณีห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลค้างชำระภาษีอากร

            การคำนวณภาษีเงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลมีข้อแตกต่างกับการคำนวณภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา  คือ  ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลมีสิทธิหักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา  47 (1) (ก)  สำหรับผู้เป็นห้างหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยแต่รวมกันต้องไม่เกิน  60,000  บาท  ตามประมวลรัษฎากรมาตรา  47 (6)  และเมื่อห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลได้แบ่งกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลเงินส่วนแบ่งกำไรที่หุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลดังกล่าวนั้น  ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้อีกตามประมวลรัษฎากรมาตรา  42(14)       

Tags :