หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,133
Page Views 1,509,362
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

โทษประหารชีวิต

โทษประหารชีวิต

วิธีการลงโทษทางอาญา

            หายกันไปนานครับ คราวก่อนผมได้กล่าวถึงเรื่องบทกำหนดโทษในการลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิด 5ฐานมาแล้ว  ครั้งนี้ผมจะกล่าวถึงวิธีการลงโทษต่อจากคราวที่แล้วครับ  วิธีการลงโทษของไทยมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการจากอดีตถึงปัจจุบัน  ในส่วนนี้ผมจะกล่าวเฉพาะวิธีการประหารชีวิตก่อนนะครับ ซึ่งการลงโทษผู้กระทำผิด เริ่มจากการลงโทษอย่างโหดร้ายเพื่อตอบแทนให้สมแค้น เพื่อข่มขู่ยับยั้งให้เกรงกลัวและเข็ดหลาบ แล้วคลี่คลายลงมาเป็นการฟื้นฟู อบรมแก้ไขให้คืนดี รูปแบบการลงโทษในแต่ละยุคสมัยก็เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการปกครอง และสังคมเป็นสำคัญ จึงมีการเปลี่ยนแปลงดังจะกล่าวต่อไปนี้

ยุคก่อนสมัยรัชกาลที่5

สมัยกรุงศรีอยุธยา

              แม้กฎหมายเก่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาจะสูญหายไปมาก แต่จากกฎหมายตราสามดวง ซึ่งได้ประมวลไว้ในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ สามารถแสดงให้เห็นเค้าโครงการลงโทษในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้ว่าเป็นการลงโทษเพื่อแก้แค้น ตอบแทน และข่มขู่ยับยั้ง เพราะมุ่งลงโทษที่ตัวผู้กระทำผิดอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะโทษประหารชีวิตในพระอัยการขบถศึก อันว่าด้วยโทษ ทวะดึงษ์กรรมกรณ์ 32 ประการ ได้กำหนดวิธีการประหารชีวิตหลายรูปแบบอย่างน่าสยดสยอง ไว้หลายประการการลงโทษสมัยอยุธยา พอจะสรุปได้ ดังนี้

              1.การประหารชีวิตปกติใช้วิธีตัดศีรษะด้วยดาบแต่ในกรณีกบฏได้มีบทบัญญัติในลักษณะที่โหดร้ายทารุณอย่างยิ่ง ซึ่งเข้าใจว่ามุ่งหมายข่มขู่ให้เกรงกลัว และในกรณีลงโทษพระราชวงศ์ ก็มีวิธีประหารชีวิตแตกต่างจากสามัญชน

              2.การลงโทษร่างกายให้เจ็บปวดทรมาน โดยปกติใช้เฆี่ยนด้วยหวาย หรือทวนด้วยลวดหนัง จองจำหรือพันธนาการด้วย ขื่อคาน พวงคอ ล่ามโซ่ ตรวน ขึ้นขาหยั่ง บั่นทอนอวัยวะด้วยการตัด
มือ ตัดเท้า ตอกเล็บ ควักนัยน์ตา แหวะปาก ตัดลิ้น

              3.ประจาน ได้แก่ สักหน้าหรือตัว แหวะหน้าผากหรือแก้ม พร้อมทั้งจำเครื่องพันธนาการ มีคนตีฆ้องร้องประกาศความชั่วตระเวนไปรอบเมือง

              4.ปรับตามลักษณะความร้ายแรงของความผิดและตามฐานันดรศักดิ์

              5.ริบทรัพย์ มักคู่กับโทษประหารชีวิต เรียกว่า ริบราชบาตรคือถูกริบทั้งหมดทั้งทรัพย์สินเงินทองรวมทั้งลูกเมีย

              6.โทษจำคุก ไม่มีกำหนดยาวนานเท่าใด แล้วแต่พระเจ้าอยู่หัวจะโปรดพระราชทานอภัยโทษ หรือมีพระบรมราชโองการสั่งให้เป็นอย่างใดขั้นตอนของการประหารชีวิตด้วยดาบ ในสมัยรัชกาลที่ 5

                                                                      วิธีการตัดคอ

                                                                               

               1. เมื่อลูกขุน ณ ศาลาลูกขุน ณ ศาลหลวง วางโทษประหารชีวิต ก็จะนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประหารชีวิต                                                        
           2. ก่อนจะนำตัวไปประหารชีวิต จะต้องถูกเฆี่ยน 3 ยกๆละ 30 ที รวม 90 ที

           3. จัดอาหารคาวหวานมื้อสุดท้ายให้นักโทษกินก่อนประหาร และนิมนต์พระมาเทศน์ให้ฟัง

           4. นักโทษประหารถูกจับนั่งมัดกับหลักไม้กางเขนแบบกาจับหลัก

           5. เพชฌฆาตเอาดินเหนียวอุดหู อุดปาก และแปะไว้ที่ต้นคอนักโทษ เพื่อกำหนดตรงที่จะฟันจากนั้นเพชฌฆาตดาบสองจะร่ายรำไปมา เพื่อรอจังหวะให้จิตนักโทษสงบ พร้อมกับเพชฌฆาตดาบหนึ่งลงดาบฟันคอทันที

          6. เมื่อประหารแล้ว เจ้าหน้าที่จะตัดส้นเท้า เพื่อถอดตรวนออกแล้วสับร่างกายหรือแล่เนื้อให้ทาแก่แร้งกา

          7. เอาหัวเสียบประจาน

สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

              หลักการและแนวความคิดในการลงโทษก็ไม่แตกต่างกับสมัยอยุธยามากนักการเรือนจำในกรุงเทพฯมี 2 อย่าง คือ "คุก" ใช้เป็นสถานที่จำขัง ผู้ร้ายที่มีกำหนดโทษสูง 6 เดือนขึ้นไป ส่วนผู้ต้องขังที่มีการกำหนดโทษตั้งแต่ 6 เดือนลงมาก็ให้ขังไว้ใน "ตะราง" ซึ่งมีอยู่หลายตะรางด้วยกัน สังกัด กระทรวง ทบวง กรม ที่บังคับบัญชากิจการนั้นๆ ส่วนการเรือนจำในหัวเมืองชั้นนอกอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ว่าราชการเมือง มีสถานที่คุมผู้ต้องโทษ เรียกว่าตะรางประจำเมืองถ้าเป็นกรณี ความผิดฉกรรจ์มหันตโทษ ผู้ว่าราชการเมืองต้องส่งตัวผู้กระทำผิดมายังกระทรวงเจ้าสังกัด การคุมขังนักโทษในสมัยนั้นมิได้มีกฎข้อบังคับไว้โดยเฉพาะให้แล้วแต่ผู้ว่าราชการ เมืองจะกำหนดขึ้นใช้เองตามแต่จะเห็นควร

ยุคแห่งการปรับปรุงสมัยรัชกาลที่ 5

           นับเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงงานราชทัณฑ์ของไทย ให้ก้าวหน้าขึ้น ทรงจัดระเบียบการคุกตะรางใหม่ เมื่อ ร.ศ.110 โดยได้มีการยกเลิกจารีตนครบาลอันโหดร้าย และประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะเรือนจำ ร.ศ. 120 เพื่อใช้บังคับกิจการเรือนจำ เป็นการเฉพาะ ทรงวางระเบียบข้อบังคับเรือนจำ ให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน ด้วยกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ซึ่งมีหลักการและวิธีการ ลงโทษที่ได้ผ่อนคลายความทารุณโหดร้ายลงไปมาก กับได้บัญญัติวิธีการลงโทษผู้กระทำผิดอาญาแผ่นดินต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม คือ ตำรวจ อัยการ ศาล และเรือนจำ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้ประกาศตั้งกรมราชทัณฑ์ขึ้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2458 โดยรวมกิจการเรือนจำ ทั่วราชอาณาจักรไว้ในสังกัดกรมราชทัณฑ์กระทรวง
นครบาล การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังให้เป็นไปตาม ระเบียบกฎข้อบังคับอันเดียวกัน นับว่าการราชทัณฑ์ไทยได้พัฒนาไปสู่แนวทางที่มีเหตุผลยิ่งขึ้น

ยุคปัจจุบัน

               หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 การราชทัณฑ์ไทยได้วิวัฒนาการการเข้าสู่ยุคปัจจุบัน เริ่มจากการสร้างเรือนจำกลางบางขวางให้เป็นเรือนจำที่ทันสมัยในปี พ.ศ.2477 แก้ไขเปลี่ยนแปลงวิธีประหารจากการประหารชีวิตด้วยดาบ มาเป็นการประหารชีวิต
โดยใช้ปืน มีการกำหนดนโยบายอาญาและหลักทัณฑ์ปฏิบัติให้สอดคล้องกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและตามหลักการของอารยะประเทศยิ่งขึ้น ประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์พุทธศักราช 2479 กำหนดหลักการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังให้สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับปฏิบัติต่อผู้ต้องขังขององค์การสหประชาชาติ และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และมุ่งในเรื่องการฟื้นฟูอบรมแก้ไขผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดีต่อไป

  จนเมื่อปี 2546 ได้เปลี่ยนแปลงจากการประหารชีวิต ด้วยวิธียิงด้วยปืน มาเป็นการฉีดสารพิษเข้าร่างกาย

ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ ดังนี้ คือก่อนการประหาร 2 วัน ผู้บัญชาการจะตรวจตราเพื่อเตรียมอุปกรณ์ในการประหารให้พร้อม รวมทั้งเตรียมการเกี่ยวกับใบมรณะบัตรและการเคลื่อนย้ายศพ และก่อนการประหารหนึ่งวัน เจ้าหน้าที่ประหารจะเตรียมอุปกรณ์เข็มฉีดยาและยา และอุปกรณ์สำรองให้พร้อม มีการจัดเตรียมพื้นที่หรือห้องสำหรับผู้สื่อข่าวที่เข้าไปทำข่าวในเรือนจำ รวมทั้งพยานที่จะเข้าไปสังเกตการณ์ในการประหารเวลา 18.00 น. เจ้าหน้าที่จะจัดอาหารมื้อสุดท้ายไปให้นักโทษประหารรับประทาน เวลา 22.00 น. เวลา 23.30 น. จึงได้เริ่มดำเนินการเพื่อเตรียมการประหารซึ่งจะเริ่มเวลาเที่ยงคืนตรงเมื่อใกล้ถึงเวลาประหาร เจ้าหน้าที่จะนำตัวนักโทษประหารจากห้องขังไปที่ห้องประหาร ให้นอนบนเตียงประหาร ตรึง และผูกด้วยสาย หนัง ทั้งขา ลำตัว และแขนทั้ง 2 ข้าง ซึ่งอยู่ในท่ากางออกทำให้ไม่สามารถดิ้นได้ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ทีได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดีจะมาติดเครื่องวัดการเต้นของหัวใจเข้ากับตัวนักโทษเพื่อตรวจสอบการตายหลังการฉีดยา โดยให้กรรมการภายนอกได้เห็นการเต้นของหัวใจ จากนั้นจึงแทงเข็มเข้าเส้นเลือดใหญ่หรือที่หลังมือทั้ง 2 ข้าง ข้างหนึ่งเป็นเข็มที่ใช้จริงอีกข้างหนึ่งเป็นเข็มสำรองในกรณีที่เข็มแรกมีปัญหา หรือบางกรณีจะแทงเข็มที่แขนเข็มเดียว จากนั้นนำท่อมาต่อเข้าเข็มโยงไปยังเครื่องฉีดยาเมื่อได้เวลา เจ้าหน้าที่เรือนจำก็จะให้สัญญาณในการดำเนินการประหารได้ เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่เพชฌฆาต 2 คน ซึ่งอยู่ในห้องฉีดยาจะมี 2 ปุ่ม กดคนละปุ่ม แต่จะมีปุ่มเดียวที่ปล่อยยาเข้าร่างดังนั้น เจ้าหน้าที่ทั้ง 2 จึงไม่มีโอกาสทราบได้ว่าใครเป็นผู้กดปุ่มปล่อยยาเข้าเส้น การฉีดยา เริ่มแรกจะปล่อยยา Sodium chloride เข้าไปให้หลับก่อนจากนั้นจึงปล่อย Pancuroniumbromide และ Patassium chloride ตามลำดับ เพื่อให้หัวใจหยุดสูบฉีดโลหิตภายในไม่ถึงนาที เมื่อนักโทษแสดงอาการแน่นิ่งไป ผู้บัญชาการเรือนจำจะขอให้นายแพทย์ของเรือนจำเข้าตรวจยืนยันการตายของผู้ต้องขังและประกาศเวลาตายต่อหน้าพยานรวมใช้เวลาในการดำเนินการตามขั้นตอนนี้ทั้งสิ้นประมาณ 20-30 นาที ผู้แทนจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร จะพิมพ์ลายนิ้วมืออีกครั้ง และเคลื่อนย้ายศพของนักโทษไปห้องเก็บศพต่อไป โดยเก็บไว้ตรวจสอบอีก 1 วัน ตลอดเวลาจะมีการถ่ายรูปและวีดีโอตามขั้นตอนต่างๆ ไว้    

ข้อมูลจาก พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์

                                                                                                            สิรวิญช์  แสนเกตุ

                                                                                                                ผู้เรียบเรียง

Tags :