หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,276
Page Views 1,509,505
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคใช้บังคับแล้ว

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับแล้ว

         พระราชบัญญัติวิธี พิจารณาคดีผู้บริโภค  มีผลใช้บังคับแล้ว  โดยเริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2551   เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ  การฟ้องคดีที่มีลักษณะเป็นคดีเกี่ยวกับผู้บริโภค  ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว  ใน เบื้องต้น  จึงต้องรู้ก่อนว่า  คดี ผู้บริโภค  คือคดีที่มีลักษณะอย่างไร

ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณา คดีผู้บริโภค  พ.ศ. 2551   กำหนดคำนิยามของคำว่า “คดีผู้บริโภค” หมายความว่า

            (1)  เป็นคดีแพ่งระหว่างผู้บริโภคหรือผู้ มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคตามมาตรา ๑๙ หรือตาม

กฎหมายอื่นกับผู้ประกอบธุรกิจซึ่งพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิหรือ หน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจาก

การบริโภคสินค้าหรือบริการ

            (2) เป็นคดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก สินค้าที่ไม่ปลอดภัย

            (3) คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกันกับคดีตาม (๑) หรือ (๒)

            (4) คดีแพ่งที่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาตามพระราชบัญญัตินี้

          ตามคำนิยามของคำว่าคดีผู้ บริโภคดังกล่าว   น่าจะสรุปได้ว่า  เป็น คดีผู้บริโภค  เป็นคดีที่ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบการ  หรือผู้ประกอบการฟ้องผู้บริโภค   เกี่ยว กับการใช้สินค้าหรือบริการ   ตัวอย่างที่ผู้บริโภค ฟ้องผู้ประกอบการ  เช่น   ผู้ ซื้อบ้านจัดสรรฟ้องบริษัทผู้จัดสรร    ผู้ซื้อรถ ฟ้องบริษัทผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายรถ  กรณีที่รถไม่ได้ มาตรฐานหรือไม่มีคุณภาพ    ผู้ ใช้สินค้าฟ้องผู้ผลิตหรือผู้จำน่ายสินค้า  หากสินค้า ที่ซื้อมาใช้ไม่ได้คุณภาพ  ก่อให้เกิดความเสียหาย  ส่วนตัวอย่างที่ผู้ประกอบการฟ้องผู้บริโภค  เช่น  ธนาคารฟ้องลูกค้าผู้กู้ที่ ไม่ชำระหนี้   ผู้ให้เช่าซื้อฟ้องลูกค้าผู้เช่าซื้อ ที่ไม่ชำระค่างวด

           พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค  บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองและเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เช่น

  • ผู้บริโภคฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายเดิม 
  • การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็ว  และมีการประนีประนอมก่อนพิจารณาคดี
  • ผู้บริโภคไม่ต้องพิสูจน์ความเสียหาย  หากแต่ ผู้ประกอบการเป็นผู้ต้องพิสูจน์ว่าตนเองไม่ต้องรับผิดเพราะเหตุใด
  • ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลยพินิจกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ต้องคำนึงถึงความเสียหายที่แท้จริง

บทบัญญัติของกฎหมายที่คุ้มครองผู้บริโภคขนาดนี้  ผู้ประกอบการคงต้องคิดหนักละครับ คราวหน้าจะมีสาระเรื่องคดีผู้บริโภคมาเล่าให้ฟังต่อครับ

วิระศักดิ์  พลศรี