หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,289
Page Views 1,509,518
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

ตายแล้วฟื้น ผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร

          เราอาจจะเคยได้ยินกันว่ามีคนตายมาแล้วสามวันแล้วฟื้นขึ้นมาอย่างน่าตกใจบ่อยๆ แล้วกลับมาเล่าให้เราฟังว่าไปพบเจออะไรมาบ้าง เช่นนรก สวรรค์ และที่ฟื้นขึ้นมาเพราะต้องกลับมาชดใช้กรรม เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องกฎแห่งกรรม แต่เรื่องที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้ เป็น การตาย และ ฟื้น ตามกฎหมาย

         เราอาจจะได้อ่านข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ว่า มีจอมยุทธผู้หนึ่งตายแล้วฟื้น มิหนำซ้ำฟื้นมาแล้ว หน้าตายังเปลี่ยนโฉมสวยงามขึ้นอีก แถมชื่อเสียงเรียงนามยังใหม่อีก ตามข่าวจอมยุทธรายนี้ได้ถูกดำเนินคดีอาญาข้อหาฉ้อโกง แต่จอมยุทธประกันตัวออกไป และเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนแบบสบายใจที่แถวทะเลอันดามัน แต่เกิดเหตุคลื่นสินามิถล่มบริเวณนั้นพอดีทำให้จอมยุทธเสียชีวิต มีการแจ้งตายและมีการฌาปนกิจศพตามพิธีกรรม

          หากคดีนี้จอมยุทธถึงแก่ความตายและคดีอาญาซึ่งจอมยุทธถูกฟ้องยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องจอมยุทธเป็นอันระงับ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 39 (1) ที่บัญญัติว่า

          "สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมเป็นอันระงับด้วยเหตุดังต่อไปนี้
                (1) โดยความตายของผู้กระทำผิด
                (2) …” 

       กรณีที่เสียชีวิตของจอมยุทธระหว่างการพิจารณาของศาล จึงทำให้สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป และไม่สามารถดำเนินคดีอาญากับท่านจอมยุทธได้ต่อไปเนื่องจากในคดีอาญาไม่มีกฎหมายให้ทายาทของจำเลยเข้ามารับมรดกความแทนจำเลย ศาลจึงต้องมีคำสั่งจำหนายคดีออกเสียจากศาลระบบความ แต่ศาลจะมีคำสั่งยกฟ้องไม่ได้เนื่องจากศาลยังมิได้มีการวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ และการยกฟ้องในคดีจะเป็นกรณีที่ศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดหรือไม่ควรต้องรับโทษ ตามมาตรา 185 จำเลยไม่มีความผิดเท่านั้น

          แม้ว่าความผิดฐานฉ้อโกงจะเป็นความผิดเกี่ยวเนื่องกับทรัพย์และพนักงานอัยการได้มีคำขอเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหาย ตามมาตรา 43 ไว้ และผู้เสียหายขอเข้ามาเป็นโจทก์รวมกับพนักงานอัยการและขอเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลย ตามมาตรา 44/1 ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่ง แต่เมื่อคดีอาญาศาลได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว คดีจึงมิได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลคำขอของพนักงานอัยการที่เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนและคำขอเรียกค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหาย ในส่วนแพ่งนี้ย่อมตกไปด้วย เนื่องจากไม่มีคดีหลักพิจารณาต่อไป แล้วคำขอที่เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนและคำขอเรียกค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายจะทำอย่างไร ทางออกคือผู้เสียหายก็ต้องฟ้องกองมรดกของจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อไป

          แต่อยู่ๆท่านจอมยุทธกลับฝึกฝนวิทยายุทธ์จนแก่กล้าฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง แล้วจะทำอย่างไรดี เมื่อการเสียชีวิตของท่านจอมยุทธเป็นการเสียชีวิตที่เป็นเท็จ “แกล้งตายหลอกหมี”แม้ว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับก็ตาม แต่เมื่อปรากฏตัวผู้กระทำความผิดหรือจำเลยที่แท้จริงขึ้นมาอีก คำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อครั้งก่อนจึงฟื้นคืนชีพขึ้นมาบ้าง ศาลก็มีอำนาจรื้อฟื้นคดีขึ้นมาพิจารณาต่อไปได้ภายในอายุความ นี้แหละกฎแห่งกฎหมาย
          
          แต่ปัญหาอยู่ที่ในระหว่างที่ศาลได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี ผู้เสียหายก็เข้าใจว่าจำเลยตายจริง จึงได้นำเรื่องขอคืนทรัพย์สินหรือราคาแทนและคำขอเรียกค่าสินไหมทดแทนไปฟ้องทายาทจำเลยเป็นคดีแพ่ง ต่อมาศาลในคดีแพ่งได้มีคำพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ได้มาถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนคดีถึงที่สุดไปแล้ว หากในคดีอาญาศาลมีคำสั่งรื้อฟื้นคดีที่ได้จำหน่ายคดีไว้ ขึ้นมาวินิจฉัยอีก จึงทำให้คำขอเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนของพนักงานอัยการและคำขอเรียกค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายนั้นกลับขึ้นมาสู่กระบวนพิจารณาของคดีอาญาอีก ทีนี้ก็เกิดปัญหาว่าคำขอในส่วนแพ่งที่เรียกคืนทรัพย์สินหรือราคาแทนและคำขอเรียกค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา กับคดีฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนและคำขอเรียกค่าสินไหมทดแทนในคดีแพ่ง จะเป็นการฟ้องซ้ำหรืดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่ เนื่องจากในคดีแพ่งศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วห้ามมิให้คู่ความเดียวกันกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้ว โดยอาศัยมูลเหตุเดียวกัน จะเห็นได้ว่าคดีแพ่งศาลได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดแล้วว่าทรัพย์สินมิใช่ของผู้เสียหายและผู้เสียหายไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน แต่เนื่องจากคดีอาญาได้มีคำขอไว้ก่อนแล้วศาลจะวินิจฉัยต่ออย่างไร

อันนี้กระผมขอรบกวนท่านนักกฎหมายช่วยแนะนำและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่

mail : siravin_san@Npolaw.co.th
สิรวิญช์ แสนเกตุ

ความคิดเห็น

  1. 1
    satit
    satit satitmat@hotmail.com 08/03/2011 21:31
    เมื่อเจ้ามรดกตาย ทรัพย์สินตกแก่ทายาท  การฟ้องทายาทเป็นเพียงการฟ้องบังคับเอากับทรัพย์สินของทายาทที่ได้รับมรดกตามกฏหมายซึ่งมรดกดังกล่าวถือเป็นทรัพย์สินของทายาท 
    แต่เมื่อเจ้ามรดกกลับฟื้นขึ้นมา  ทรัพย์สินที่เป็นของทายาทกลับสภาพคืนมาเป็นของผู้เคยตายตามเดิม  ดังนั้นคำขอเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหาย ตามมาตรา 43 และ ขอเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลย ตามมาตรา 44/1 กรณีทรัพย์สินที่พิพาทเป็นทรัพย์ต่างชนิดกัน  และประเด็นพิพาทหากเป็นข้อเท็จจริงตามที่กล่าวแสดงว่าทรัพย์สินที่ทายาทได้มานั้นเป็นการไำด้รับมาถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ส่วนของคดีอาญาเดิมนั้นเป็นการเรียกทรัพย์คืน และเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดทางอาญา กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ผมคิดว่าไม่เป็นฟ้องซ้ำนะครับ
  2. 2
    PRASERT
    PRASERT PRASERTPAUP@GMAIL.COM 26/02/2011 18:36
    เพื่อผลทางกฎหมาย

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*