หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,852
Page Views 1,510,115
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

การจดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง ตอนที่ 2

การจดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง  ตอนที่ 2

การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด ตอนที่ 2

          สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน จากคราวที่แล้วที่ผมได้เขียนถึงโครงสร้างของบริษัทจำกัดและได้ค้างขั้นตอนและวิธีการในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไว้ ซึ่งวันนี้ก็จะได้เขียนถึงขั้นตอนและวิธีการในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดต่อจากคราวที่แล้ว ดังนี้

ขั้นตอนและวิธีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
       การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ การจองชื่อ ซึ่งการจองชื่อนิติบุคคลมิใช่การจดทะเบียน แต่เป็นกระบวนการหนึ่งก่อนการจดทะเบียน เพราะต้องนำชื่อที่จองไว้ไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดต่อไป แต่ชื่อที่ท่านจะจองและนำไปจดทะเบียนนั้นต้องอยู่ภายในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขด้วย เนื่องจาก กฎหมายกำหนดว่าชื่อนิติบุคคลจะต้องไม่พ้อง หรือมีชื่อเรียกขานตรงกันหรือคล้ายคลึงกับชื่อนิติบุคคลอื่นที่ได้ จดทะเบียนไว้แล้ว จึงมีระเบียบกำหนดว่าก่อนยื่นจดทะเบียนจะต้องขอ จองชื่อก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะใช้ชื่อนั้นจดทะเบียนได้ ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการในการจองชื่อมีดังนี้

  1. ผู้ร่วมก่อการ (ผู้ร่วมลงทุน) ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ต้องทำการตั้งชื่อตามที่ประสงค์จะใช้เป็นชื่อบริษัทแล้วนำไปยื่นขอจองชื่อต่อนายทะเบียน ซึ่งชื่อดังกล่าวต้องอยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย กล่าวคือ ไม่เป็นชื่อต้องห้าม หรือชื่อที่คล้ายหรือซ้ำกับชื่อของบริษัทหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งอาจทำให้นายทะเบียนไม่รับจองชื่อของท่านได้ 
  2. หนึ่งในผู้ร่วมก่อการต้องเป็นผู้ดำเนินการจองชื่อต่อนายทะเบียน ซึ่งการจองชื่อดังกล่าวกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีวิธีการอยู่ 2 รูปแบบ แบบแรกคือ หนึ่งในผู้ร่วมก่อการยื่นแบบขอจองชื่อที่ประสงค์จะใช้เป็นชื่อบริษัทต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานจดทะเบียนสาขาใดก็ได้ด้วยตนเองหรือจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนได้ หรือแบบที่สองคือ ยื่นแบบขอจองชื่อผ่านทางอินเตอร์เนตได้ที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยผู้เขียนขอแนะนำให้ยื่นแบบขอจองชื่อผ่านทางอินเตอร์เนต เพราะสะดวกและรวดเร็วกว่า และในการจองชื่อดังกล่าวจะให้ใครเป็นคนดำเนินการแทนก็ได้แต่ต้องลงชื่อผู้ร่วมก่อการเป็นผู้ขอจองชื่อ 
  3. ในการจองชื่อจะกำหนดให้จองชื่อไว้ได้ 3 ชื่อ ซึ่งต้องมีคำว่า “บริษัท” ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยคำว่า “จำกัด” ซึ่งหากท่านประสงค์จะใช้ชื่อใดเป็นชื่อบริษัทของท่านท่านก็ควรให้ชื่อนั้นขึ้นก่อนเพราะนายทะเบียนจะพิจารณาชื่อแรกก่อน โดยในแต่ละชื่อให้มีชื่อภาษาอังกฤษด้วยและชื่อภาษาอังกฤษจะต้องเป็นคำอ่านที่ตรงกับชื่อภาษาไทย (ในทางปฏิบัติชื่อภาษาอังกฤษจะมีหรือไม่ก็ได้) และในการกรอกแบบฟอร์มขอจองชื่อดังกล่าวท่านต้องกรอกตามความเป็นจริงทุกประการ เพราะท่านอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267 และ 268 
  4. หลังจากที่หนึ่งในผู้เริ่มก่อการได้ยื่นแบบจองชื่อต่อนายทะเบียนแล้ว นายทะเบียนจะพิจารณารายชื่อที่จองไว้ดังกล่าวว่า เป็นชื่อที่ต้องห้าม คล้ายหรือซ้ำกับชื่อของบริษัทหรือนิติบุคคลอื่นหรือไม่ ซึ่งหากปรากฏว่า ชื่อที่จองไว้เป็นชื่อที่ต้องห้าม คล้ายหรือซ้ำกับชื่อของบริษัทหรือนิติบุคคลอื่นแล้วนายทะเบียนก็จะมีคำสั่งไม่รับจองชื่อนั้นและหมายเหตุให้ทราบว่า คล้ายหรือซ้ำกับชื่อของบริษัทหรือนิติบุคคลใด และนายทะเบียนก็จะพิจารณาชื่อที่จองไว้ในลำดับต่อๆมาโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน หากนายทะเบียนพิจารณาชื่อทั้งหมดที่จองไว้แล้ว และมีคำสั่งไม่รับจองทั้งหมด ท่านก็ต้องดำเนินการจองชื่อใหม่ตามขั้นตอนและวิธีการข้างต้น แต่การที่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจองชื่อของท่านโดยเหตุที่ชื่อดังกล่าว คล้ายหรือซ้ำกับชื่อของบริษัทหรือนิติบุคคลอื่น ท่านสามารถแก้ไขได้โดยการให้กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทนั้นๆลงชื่อรับรองให้ท่านใช้ชื่อนั้นตั้งเป็นบริษัทได้ แต่หากท่านไม่ได้รับการรับรองโดยถูกต้องแต่ยังยืนยันจะใช้ชื่อดังกล่าวต่อไปและภายหลังเกิดความเสียหายขึ้นแก่บริษัทนั้นๆ ท่านอาจมีความผิด ตาม ปพพ. มาตรา 18 และ มาตรา 1115 
  5. หากนายทะเบียนมีคำสั่งรับจองชื่อที่ท่านจองไว้ดังกล่าวแล้ว ท่านต้องดำเนินการนำชื่อดังกล่าวไปจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิตามขั้นตอนและวิธีการตามกฎหมายต่อไป ภายใน 30 วัน นับแต่นายทะเบียนมีคำสั่ง ซึ่งหากท่านไม่ดำเนินภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านจะนำชื่อดังกล่าวไปจดทะเบียนต่อไปไม่ได้ ท่านต้องดำเนินการจองชื่อตามขั้นตอนและวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นใหม่ 

          ตามขั้นตอนและวิธีการขอจองชื่อที่กล่าวมาเบื้องต้น ประกอบกับโครงสร้างของบริษัทจำกัดที่ได้ไว้ครั้งที่แล้ว ท่านใดที่ประสงค์จะจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทด้วยตนเองก็สามารถติดตามขั้นตอนและวิธีการต่างๆที่จะกล่าวต่อไปในคราวหน้าได้นะครับ หรือจะขอคำแนะนำปรึกษาได้ที่ www.n-law.co.th

ความคิดเห็น

  1. 11
    ลัทธพล
    ลัทธพล par-tui@windowslives.com 30/04/2010 19:19
  2. 12
    นา
    นา rattana_o@nec-i-thai.nec.co.jp 13/07/2009 10:34
    เรื่อง ขอคำปรึกษาด่วน
    เรียนคุณไพบูลย์

    เริ่มเลยนะค่ะ คือว่าฉันได้จดทะเบียนหจก.เรียบร้อยแล้วและต้องไปแจ้งที่ใดบ้าง และถ้าแจ้งล่าช้าจะโดนปรับเท่าไร ขอขั้นตอนและแบบฟอร์มในการยื่นแจ้งที่ต่างๆด้วยค่ะ รบกวนตอบมาทางเมลก็ได้นะค่ะ

    ขอบคุณค่ะ
[Back]   1 2

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*