หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,835
Page Views 1,510,082
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

กฎหมายภาษีอากร-บริษัทแจกหุ้นให้ลูกจ้าง ถือเป็นรายได้พึงประเมินหรือไม่และมีประเด็นทางภาษีอย่างไร

กฎหมายภาษีอากร-บริษัทแจกหุ้นให้ลูกจ้าง  ถือเป็นรายได้พึงประเมินหรือไม่และมีประเด็นทางภาษีอย่างไร

บริษัท แจกหุ้นให้แก่ลูกจ้างถือเป็นรายได้พึงประเมินหรือไม่และมีประเด็นทางภาษี อย่างไร

             มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรไทยบัญญัติว่า  เงินได้พึงประเมิน  คือเงินได้อันเข้าลักษณะ การเสียภาษีในหมวดนี้  เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมาย ความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน  หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ ได้รับ  ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน  เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้รับออกแทนให้สำหรับเงินได้ ประเภทต่างๆ  ตามมาตรา 40  และเครดิตภาษีตามมาตรา  47 ทวิด้วย

             ดังนั้น  คำว่าเงินได้ พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นจึงหมายถึงกรณีดังต่อไปนี้

  1. เงิน หรือตราสารที่มีค่าเสมือนเป็นเงินสด เช่น เช็ค
  2. ทรัพย์สิน ซึ่งอาจคิดได้เป็นเงิน  เช่น  กรณี ที่ลูกจ้าง  พนักงาน  หรือ  กรรมการบริษัทได้รับหุ้นจากนายจ้างโดยลูกจ้างไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่าย  ในทางภาษีก็ถือว่าลูกจ้าง  พนักงาน  หรือกรรมการเหล่านั้นมี เงินได้พึงประเมินเททากับมูลค่าหุ้นที่แต่ละท่านได้รับ เป็นต้น
  3. ประโยชน์อื่นที่ได้ รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน  เช่น สวัสดิการอาหารที่นายจ้างจัดให้แก่พนักงานย่อมถือเป็นประโยชน์เพิ่มของ ลูกจ้าง  โดยให้คำนวณมูลค่าจากรายจ่ายค่าอาหารของนาย จ้างเป็นเงินได้พึงประเมินของลูกจ้าง  หรือ ค่าแห่งอาคารที่เจ้าของที่ดินได้รับกรรมสิทธิ์จากการทำสัญญาให้ผู้อื่นเช่า และทำการปลูกสร้างอาคารบนที่ดินของตน  โดยผู้ปลูก สร้างยกกรรมสิทธิ์ในอาคารที่ปลูกสร้างให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อสร้างเสร็จ เป็นต้น
  4. เงินภาษีอากรที่จ่าย หรือผู้อื่นออกให้ไม่ว่าทอดใด ๆ
  5. เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ

           สำหรับหุ้นที่บริษัทซึ่ง เป็นนายจ้างได้ให้แก่ลูกจ้าง   ถือเป็นเงินได้พึง ประเมินประเภทหนึ่งตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร   เพราะเป็นทรัพย์สินที่อาจคิดได้ เป็นตัวเงิน   ฉะนั้นกรณีที่ บริษัทซึ่งเป็นนายจ้างแจกหุ้นให้แก่ลูกจ้างของตนเอง   ต้อง ถือเป็นเงินได้ที่ลูกจ้างได้รับจากบริษัทนายจ้างเท่ากับมูลค่าหุ้นที่ได้รับ    เช่น   บริษัท แห่งหนึ่งได้แจกหุ้นของบริษัทให้แก่นาย ก  ซึ่งเป็น ลูกจ้างของตนจำนวน  20,000  หุ้น  หุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าหุ้น ละประมาณ  100 บาท  ดังนั้นนาย ก  จึงมีเงินได้พึง ประเมินจากการจ้างแรงงานเกิดขึ้นเท่ากับ  2,000,000 บาท (จำนวนหุ้นทั้งหมดคูณด้วยมูลค่าต่อหุ้น)  ทั้ง นี้ไม่ว่าหุ้นดังกล่าวจะมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายจ่ายโอนหรือไม่และไม่ ว่าหุ้นดังกล่าวจะเป็นหุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรือนอกตลาดหลัก ทรัพย์   และเนื่องจากมูลค่าของหุ้นมีราคาขึ้นลงอยู่ เสมอจึงต้องใช้ราคาหุ้นในวันที่ลูกจ้างได้รับกรรมสิทธิ์ในหุ้น  

             ปัญหามีว่า  เมื่อ บริษัทซึ่งเป็นนายจ้างให้หุ้นแก่ลูกจ้างแล้ว  ต่อมา ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง  และบริษัทต้องการเอาหุ้นคืน   หากลูกจ้างต้องคืนหุ้นดังกล่าวให้แก่นายจ้าง   ลูกจ้างมีสิทธิขอคืนภาษีเงินได้ที่ได้ชำระไปแล้วได้หรือ ไม่ ? 

            กรมสรรพากรเห็นว่า   ลูกจ้าง ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้ชำระไปแล้วคืนจากกรมสรรพกร  ฉะนั้นก่อนที่ลูกจ้างจะยอมรับหุ้นที่บริษัทแจกให้  ลูกจ้างควรที่จะทำความเข้าใจกับเงื่อนไขข้อแลกเปลี่ยน หรือข้อตกลงพิเศษที่บริษัทกำหนดให้ลูกจ้างพึงปฏิบัติในอนาคตก่อนเพราะถ้าต่อ มาลูกจ้างทำผิดเงื่อนไขและถูกบริษัทริบหุ้น  ลูกจ้าง จะขอภาษีคืนจากกรมสรรพกรมิได้

             ส่วน บริษัทซึ่งเป็นผู้แจกหุ้นให้ลูกจ้างนั้น  บริษัทย่อม ไม่มีเงินได้เพิ่มขึ้นเพราะบริษัทไม่ได้รับประโยชน์อันคำนวณได้เป็นเงินจาก การแจกหุ้นให้แก่ลูกจ้างของตน  ตรงกันข้าม  บริษัทกลับมีรายจ่ายเกิดขึ้นแทน    ปัญหามีว่ารายจ่ายของบริษัทที่แจกหุ้นให้ลูกจ้าง  จะนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้หรือไม่ ?

             หากบริษัทมีระเบียบหรือ ข้อผูกพันกับลูกจ้างไว้เป็นลายลักษณ์อักษรไว้แน่นอนในเรื่องการแจกหุ้น  บริษัทย่อมนำรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการแจกหุ้นให้แก่ ลูกจ้างมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามปกติ   ฉะนั้นบริษัทควรที่จะต้องตรวจสอบก่อนว่าบริษัทมีระเบียบ หรือข้อผูกพันเรื่องการแจกหุ้นให้กับลูกจ้างไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ ก่อนที่บริษัทจะแจกหุ้นให้แก่ลูกจ้างของตน  แต่ใน กรณีที่บริษัทไม่ได้มีระเบียบหรือข้อผูกพันที่จะต้องแจกหุ้นให้แก่ลูกจ้าง  บริษัทจะไม่สามารถนำรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการแจกหุ้นมา ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีของบริษัทได้เพราะการให้โดย เสน่หาโดยไม่มีภาระผูกพันที่ต้องให้จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีไม่ได้ 

Tags :