หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,832
Page Views 1,510,075
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

กฎหมายอาญา-กระทำโดยประมาทเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้หรือไม่ ?

กฎหมายอาญา-กระทำโดยประมาทเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้หรือไม่ ?

หมิ่นประมาทโดยประมาท

              ก่อนอื่นผมขอกล่าวก่อน เลยว่าเรื่องนี้ผมคิดเล่นๆนะครับ ท่านผู้อ่าน ได้อ่านแล้วอาจจะคิดว่าผมคิดทำไมบ้าหรือเปล่า ก็เห็นอยู่ว่ากฎหมายไม่ได้เขียนไว้  แต่ทนอ่านให้จบ สักนิดนะครับ เมื่อไม่นานนี้ผมอ่านกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานกระทำโดยประมาท  เห็นมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท หน่วงเหนี่ยวกักขังโดยประมาท  ผมเลยก็นึกสงสัยว่า ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยประมาทมีหรือเปล่า ?     ผมเลยเปิดประมวลดูปรากฏว่า ไม่มีครับ ผมก็เลยสงสัยว่าทำไม่มี  ผมเลยสมมุติกรณีตัวอย่าง ขึ้นมาในสมอง ว่าถ้ามีกรณีสื่อมวลชนเสนอข่าวทางรายการโทรทัศน์ช่องหนึ่งว่ามีบุคคลคนหนึ่ง สมมุติว่าชื่อ นาย ก. เป็นนักการเมื่องท่องถิ่นเป็นผู้มีอิทธิพล ร่ำรวยจากการทำธุรกิจผิดกฎหมาย มีมือปืนอยู่ในสังกัดมากมาย โดยรับทราบจากการร้องเรียนของชาวบ้านกลุ่มหนึ่งว่านาย ก. ค้าของเถื่อน ค้ายาเสพติด ตั้งซุ้มมือปืน แต่ความจริงปรากฏนาย ก. เป็นคนดีชอบช่วยเหลือชาวบ้าน  ที่มีฐานะร่ำรวยเพราะ ถูกหวยรางวัลใหญ่และนำเงินไปลงทุนทำธุรกิจโดยสุจริตรับชื้อสินค้าทางการเก ตษรจากชาวบ้านแล้วส่งออกไปขายต่างประเทศมิได้เป็นตามข่าวที่นำเสนอแต่อย่าง ใด โดยชาวบ้านซึ่งอยู่ท้องถิ่นตำบลเดียวกันเป็นผู้ยืนยันและเป็นความจริง

              หากมองอย่างผิวเผินจะเห็น ว่าสื่อมวลชนนำเสนอข่าวตามหน้าที่ปกติ  แต่หากมองใน มุมของกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 236 บัญญัตว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อ บุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง  ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษ........” คำว่า ใส่ความ หมายความว่า การไขข่าวหรือการไขความให้แพร่หลายโดยการนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่าง ใดไปพาดพิงบุคคลอื่น ไม่ว่าข้อความนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม เห็นได้ว่าสื่อมวลชนนำเสนอข่าวว่า “นาย ก. เป็นนักการเมื่องท่องถิ่นเป็นผู้มีอิทธิพล ร่ำรวยจากการทำธุรกิจผิดกฎหมาย มีมือปืนอยู่ในสังกัดมากมาย” ซึ่งในการนำเสนออย่าง นั้นเป็นการไข่ข่าวหรือไข่ความให้แพร่หลายไปยังบุคคลที่สามแล้ว และบุคคลหรือประชาชนที่ได้ทราบข่าวสารที่นำเสนอออกไปย่อมเชื่อตามที่สื่อมวล ชนนำเสนอ ทั้งที่ไม่เป็นความจริงตามที่สื่อมวลชนเสนอข่าวเลย ทำให้นาย ก. ผู้ถูกพาดพิงเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ได้รับความเสียหายจากการนำเสนอของสื่อมวลชน ทั้งการนำเสนอข่าวนั้นได้นำเสนอว่าได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านซึ่งเป็นการ ยื่นยันข้อเท็จจริง  การกระทำดังที่กล่าวมานี้เป็น การกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว และการนำเสนอของสื่อมวลชนนี้เป็นการนำเสนอโดยการโฆษณาด้วยโดยการกระจายเสียง และการกระจายภาพ อันเป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 238  แต่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329 บัญญัติว่า  “ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต

                (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม

                (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่

                (3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ

                (4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยใน ศาลหรือในการประชุม

ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ”

                ดังนั้นสื่อมวลชนที่นำ เสนอข่าวจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ด้วยข้อยกเว้น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 238 นี้ โดยเหตุผลที่ว่าเป็นการเสนอข่าวตามหน้าที่ของสื่อมวลชนเพื่อความชอบธรรมติชม ด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำได้ และที่สำคัญ “ไมมีเจตนา หมิ่นประมาท” จึงทำให้สื่อมวลชนนั้นพ้นผิดไป

                คราวนี้มามองในมุมมองกฎหมาย ของผมกันบ้างนะครับ  จะเห็นว่าการนำเสนอข่าวของสื่อ มวลชนแม้จะไม่มีเจตนาที่จะหมิ่นประมาทก็ตาม แต่ผมคิดว่าการเสนอข่าวเป็นการนำเสนอข่าวออกไปโดยไม่มิได้มีการกลั่นกลอง ข้อมูลและตรวจสอบข้อเท็จจริงว่ามีความมูลคาวมจริงเพียงใด รีบเร่งนำเสนอข่าวเพื่อสร้างเรตติ้ง ซึ่งตามมาตรา 59 วรรคสาม บัญญัติว่า “กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัย และพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ ” เห็นได้ว่าสื่อมวลชนนำ เสนอข่าวโดยปราศจากความระมัดระวัง ไม่มิได้มีการกลั่นกลองข้อมูลและตรวจสอบข้อเท็จจริงว่ามีความมูลความจริง เพียงใด ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นสื่อมวลชนจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ คือต้องตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่รับมาโดยการสอบถามบุคคลตามในท้องที่และท้อง ที่ใกล้เคียงก่อนนำข่าวออกเสนอได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ ไม่มีการสอบถามกลั่นกลองข้อมูลและตรวจสอบข้อเท็จจริงซึ่งในฐานะสื่อมวลชน สามารถกระทำได้  จึงครบองค์ประกอบกระทำโดยประมาทเช่น กัน แต่เท่าที่ผมเปิดประมวลดูแล้วหลายรอบปรากฏว่าไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยประมาท สื่อมวลชนก็ไม่มีความ ผิดทางอาญาไป (ถึงตอนนี้เรากำลังกล่าวถึงเรื่องความผิดทางอาญานะครับอย่างเพิ่งไปสนใจ เรื่องทางแพ่ง)

                 จากแนวคิดที่แปลกๆของผมๆว่าน่าจะยกเลิก มาตรา 329 ไปเสีย หรือก็เพิ่มเติมในส่วนของ วรรคสองเป็น  มาตรา 329 บัญญัติว่า  “ผู้ ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต

                (1).......

                ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทเมื่อปรากฏการเป็น หมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง”

                แต่ทั้งนี้การกระทำ โดยเจตนาอยู่ที่ในจิตใจของแต่ละบุคคลกฎหมายไม่สามารถยั่งรู้ได้ว่าผู้กระทำ เจตนาหรือไม่จึงควรจะมีบันทันฐานวางเอาไว้หากไม่เจตนาก็ประมาทเพื่อไม่ให้มี การกล่าวว่าความคิดเห็นหรือข้อความใดไปโดยไมมีเจตนา หมิ่นประมาท

               ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่รู้ว่าจะเป็นเรื่องไร้สาระหรือไม่ แต่เพื่อเป็นการควบคุมการแสดงความคิดเห็นหรือข้อ ความใดที่เกินขอบเขต ของสื่อมวลชน หรือผู้มีอำนาจในหน่วยงานต่างๆที่ทำหนังสือร้องเรียนต่าง จะได้มีการตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนนำเสนอข่าว การแสดงความคิดเห็น และการร้องเรียน เพราะทุกวันนี้ในสังคมการเสนอข่าวของสื่อมวลชน ทั้งเรื่องการเมือง ดารา ข่าวทั่วไปผมไม่แน่ใจเลยว่ามีความจริงเพียงใด หรือการออกมาทำนายทายทักดวงบุคคลอื่นก็เช่นกันครับ

             กระผมขอฝากแนวคิดที่แปลกๆของผมไห้ท่านผู้ อ่านลองคิดดูว่าเหมาะสมหรือสมควรเพียงใดครับ หากท่านผู้อ่านมีความคิดเห็นหรือข้อติชมประการใด สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ด้านล่างบทความนี้ครับ หรือที่ เมล์ siravin_san@npolaw.co.th  ครับ

สิรวิญช์  แสนเกตุ
ผู้เรียบเรียง
20/7/2552
ครั้งที่ 5

Tags :