หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,828
Page Views 1,510,060
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

ลูกจ้างมีสิทธิ์อย่างไรเมื่อถูกเลิกจ้าง

ลูกจ้างมีสิทธิ์อย่างไรเมื่อถูกเลิกจ้าง

          สวัสดีครับคุณผู้อ่านทุกท่าน  ห่างหายกัน นานหน่อย  ก็ผ่านไปนะครับสำหรับเทศกาลวันหยุดต่าง ๆ บางท่านก็ดื่มเหล้ากันไปหลายวันติดต่อกัน ก่อนกลับมาทำงานก็ต้องปรับสภาพร่างกายเพื่อให้พร้อมสำหรับการทำงาน  จั่งซี่มันต้องถอน  ก็หวังว่าคุณผู้อ่าน ทุกท่านมีสุขภาพที่แข็งแรงและได้รับความสุขกันนะครับ

          สำหรับฉบับนี้ ก็ที่เคยเกริ่นไว้ตั้งแต่ฉบับที่แล้วนะครับว่า  กระผม จะมาเขียนบทความเกี่ยวกับกรณีที่ลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างแล้วมีสิทธิอย่างไร   แต่ก่อนอื่นกระผมขอพูด เกี่ยวกับเวบไซต์N-law ของเรากันก่อนนะครับ บางท่านสงสัยว่า เอะ ทำไมต้องมาพูดกันทุกครั้งก่อนเลย จะไม่พูดได้ไหม อันนี้ก็ต้องเข้าใจนะครับว่า N-law เค้าจ่ายตังค์ ผมเป็นลูกจ้าง   ก็หากเพื่อน ๆ หรือคุณผู้อ่าน สนใจข้อมูลทางกฎหมาย หรือหากจะแสดงความคิดเห็นติชมกันเข้ามาได้นะครับ ทางเวบไซต์ของเรายินดีเปิดให้บริการไม่ว่าเพื่อน ๆ ที่เป็นนักกฎหมาย หรือไม่ใช่นักกฎหมาย ก็ได้นะครับ

          ก็กลับมาเข้าเรื่องเข้า ราวกันเลยนะครับ เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างจะมีสิทธิทางกฎหมายแรงงานอย่างไร  ลูกจ้างก็จะได้รับเงินค่าชดเชยนะครับ   ก่อนอื่นเราจะต้องมาเข้าใจความของคำว่า ค่าชดเชย กันก่อนครับ

          ตามพระ ราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา  ๕ บัญญัติว่า  “ ค่าชดเชย ”  หมาย ความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่น ซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง

          จาก ความหมายของตัวบทกฎหมายดังกล่าว จึงได้ให้ความหมายของคำว่า ค่าชดเชย เป็นเงินที่ไม่ใช่ค่าจ้าง โดยนายจ้างมีวัตถุประสงค์ที่จะจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ไม่ใช่เงินเดือน หรือโบนัส นะครับ  แต่นายจ้างมี หน้าที่จ่ายตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเมื่อ นายจ้าง เป็นฝ่ายเลิกจ้าง  

         อ้าวแล้วถ้าหากลูกจ้างลา ออกจากงานไป  ทิ้งงานไป หรือลูกจ้างถึงแก่ความตาย ลูกจ้างจะได้รับเงินค่าชดเชยไหม  นายจ้างก็ไม่ต้อง จ่ายค่าชดเชย  แต่จะไปจ่ายเป็นเงินกรณีอื่น ๆ นะครับ

         ทีนี้เราก็มาดูว่า นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเป็นเงินเท่าไหร่ แหมอันนี้คงโดนใจลูกจ้างนะครับ  ตามพระราชบัญญัติคุ้ม ครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา  ๑๑๘ บัญญัติว่า ให้ นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(๑)  ลูกจ้าง ซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับ ค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๒)  ลูกจ้าง ซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้ รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๓)  ลูกจ้าง ซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้าง ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๔)  ลูกจ้าง ซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้าง ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๕)  ลูกจ้าง ซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้ รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

       การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุ ที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป

         ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น

       การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรค สามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือ การค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือ ในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำ สัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

         คุณผู้อ่านคงน่าจะเข้าใจ คร่าว ๆ นะครับ ว่าลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างจะต้องได้รับเงินเท่าไหร่ หากพิจารณาตาม (๑) ถึง (๕) กฎหมายได้กำหนด ค่าชดเชยไว้ เป็นอัตรา ๆ ตามจำนวนเวลาที่ลูกจ้างได้ทำงาน สังเกตนะครับว่า ตาม(๑) ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยเมื่อทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันขึ้นไป ไม่ใช่ 119 วัน ตามใบสมัครงานของสถานประกอบกิจการทั่ว ๆ ไป ที่เราพบเห็นนะครับ  เพราะถ้าให้ลูกจ้างทำงานนานกว่านั้น นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง

         ในการคำนวณค่าชดเชย เมื่อเราทราบค่าจ้างอัตราสุดท้ายแล้ว กรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายวันให้นำค่าจ้างรายวันนั้น คูณ ๓๐ หรือ ๙๐ ตามอัตราซึ่งแล้วแต่ว่าลูกจ้างนั้นทำงานมานานเท่าไหร่ สำหรับกรณีที่ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนก็ต้องเอาค่าจ้างที่เป็น รายเดือนตั้ง แล้วก็หารด้วย ๓๐ เพื่อให้เป็นค่าจ้างรายวัน แล้วจึงคูณด้วย ๓๐ หรือ ๙๐ ตามอัตราข้างต้นนะครับ  ตอนนี้คุณผู้อ่านคงกำลังนึกว่าเราทำงานไปกี่วันแล้วจะ คูณแล้วได้เงินเท่าไหร่น้อ 

         แต่เดี๋ยวก่อน  ลูกจ้างจะได้รับเงิน ค่าชดเชยก็ต่อเมื่อเป็นเลิกจ้างตามความหมายแห่งมาตรานี้นะครับ  พิจารณาดูตามวรรคที่สองนะครับ ซึ่งให้ความหมายการเลิกจ้างว่า  “ การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุ ที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป ”

         สำหรับวรรคสองดังกล่าวนี้ ได้กล่าวถึงพฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไว้ หรือ กล่าวอีกนัยก็คือว่าการเลิกจ้างแบบนี้ ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย หรือนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย นั่นแหละครับ ส่วนอย่างไรเป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง กระผมขออธิบายต่อไปในฉบับหน้านะครับ  สำหรับคุณผู้ อ่านที่เป็นลูกจ้างก็อย่าพลาดนะครับ เดี๋ยวจะเสียดาย

          สำหรับฉบับนี้ก็ขอเอาไว้แค่นี้กันก่อนครับ เพราะผมก็ยังปรับสภาพไม่ทันเหมือนกันกระผมก็ มีอาการ เป็นงึก ๆ งัก จั่งซี่มันต้องถอน 

         หาก คุณผู้อ่านสนใจข้อมูลกฎหมายแรงงานที่แก้ไขใหม่ หรือ มีข้อกฎหมายสอบถามเพิ่มเติม โปรดแจ้ง อีเมลล์ไว้ที่ boonchuay@npolaw.co.th   สวัสดีครับ

บุญช่วย  สิทธิธรรม

ทนายความ

Tags :