หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,830
Page Views 1,510,067
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

ลูกจ้างมีสิทธิอย่างไรเมื่อถูกเลิกจ้าง ตอนที่ 2

ลูกจ้างมีสิทธิอย่างไรเมื่อถูกเลิกจ้าง  ตอนที่ 2

       สวัสดีครับคุณผู้อ่าน ทุกท่าน  สำหรับฉบับนี้  กระผมขออธิบายกฎหมายแรงงานต่อจากฉบับที่แล้ว เพื่อเป็นการเอาใจผู้ใช้แรงงานนะครับ และยิ่งผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ชะลอลง มีการลดการจ้างงานไปทั่วโลก สำหรับประเทศไทย ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้  ปัญหาการว่างงานอาจเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน และแนวโน้มจะเกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเรื่อย ๆ

กระผมขอเป็นแรงใจให้ผู้ใช้แรงงาน สู้ต่อไป  อย่า ท้อถอย

ภาพจาก www.sanook.com

        จากฉบับที่แล้วกระผมได้อธิบายว่า เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างจะได้รับ คือ ค่าชดเชย  โดยคำนวณตามอัตราจำนวนวัน เวลาที่ทำงานนะครับ   แต่ตามเงื่อนไขของกฎหมายแรงงานนั้น  ลูกจ้างจะได้รับเงินค่าชดเชยก็ต่อเมื่อเป็นการเลิกจ้าง ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา  ๑๑๘  วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า

         “การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุ ที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป ”

         จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ได้อธิบายพฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไว้  หรือ อธิบายว่า พฤติการณ์อย่างไร ที่ถือว่านายจ้างเลิกจ้างแล้วเราจะได้รับเงินค่าชดเชยนั่นแหละครับ อันนี้สำคัญ ต้องพิจารณาให้ดีนะครับ อาจถูกเลิกจ้างแล้วไม่ได้รับเงิน

พฤติการณ์ตามกฎหมายดังกล่าวที่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง มี ๒ กรณี นะครับ

         ๑. การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดของสัญญาจ้างหรือเพราะเหตุอื่นใด  กรณีนี้หมายถึง ไม่ว่านายจ้างจะทำอย่างไรก็ตามต่อลูกจ้างที่เป็นการแสดงว่านายจ้างมีเจตนาไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้าง  เช่น  ไม่ยอมให้ลูกจ้างเข้าทำงานในบริษัท และไม่จ่ายค่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นด้วยสาเหตุที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานนั้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใดก็ตามนะครับ เช่น  นายจ้างขาดทุนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ในสภาวะเศรษฐกิจซบเซา 

          ๒. กรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป เช่น โรงงานถูกไฟไหม้หมด นายจ้างถูกสั่งปิดกิจการ เจ๊ง อะไรทำนองนี้นะครับ ก็ต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างด้วย

         จากพฤติการณ์ทั้ง ๒ กรณีดังกล่าว นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเพราะถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ทั้งนี้ต้องพิจารณาพฤติการณ์ตามข้อเท็จจริงและแนวคำพิพากษาของศาลฎีกา นะครับ

ตอนนี้ฝ่ายลูกจ้างคงเข้าใจและสบายใจนะครับ ได้รับเงินค่าชดเชยแน่ ๆ

ภาพจาก  www.tca.or.th

          แล้วมีข้อยกเว้นไหมที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พฤติการณ์ข้างต้น

         มีครับ ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา  ๑๑๘  วรรคสาม และวรรคสี่ บัญญัติว่า

        “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่ นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
         การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสาม จะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการ ค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือใน งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำ สัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง “


         จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามมาตรา ๑๑๘ มี ๒ กรณี คือ

         ๑. ลูกจ้างซึ่งมีระยะเวลาในการทำงานน้อย หรือ ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วไม่ครบ ๑๒๐ วัน
        ๒. ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น เช่น นายจ้างทำสัญญาจ้างกำหนดวันเวลา เริ่ม สิ้นสุดการจ้างไว้ โดยลูกจ้างทำงานประเภทหนึ่งประเภทใด ๓ ประเภท ดังนี้

                ๒.๑ ทำงานตามโครงการ เป็นงานตามโครงการที่ไม่ใช่งานตามปกติของธุรกิจนายจ้าง
                ๒.๒ ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว
                ๒.๓ ทำงานที่เป็นไปตามฤดูกาล 

          โดยงานทั้ง ๓ ประเภทดังกล่าวจะต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน ๒ ปี

            สำหรับฉบับนี้ เอาใจฝ่ายลูกจ้างนะครับ  แต่สำหรับฉบับหน้า ทั้งฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้างก็อย่าพลาด เพราะกระผมจะขออธิบายข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย 
          หากคุณผู้อ่านสนใจข้อมูลกฎหมายแรงงานที่แก้ไขใหม่ หรือมีข้อกฎหมายสอบถามเพิ่มเติม โปรดแจ้งอีเมลล์ไว้ที่ boonchuay@npolaw.co.th สวัสดีครับ

บุญช่วย  สิทธิธรรม

ทนายความ

Tags :