หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,838
Page Views 1,510,089
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

เปลี่ยนได้ไหม อัลบั้ม วิชาชีพบนหลังคน

เปลี่ยนได้ไหม  อัลบั้ม วิชาชีพบนหลังคน

          ทุกวันนี้ เศรฐกิจย่ำแย่ทำมาหากินก็ลำบาก พวกที่ทำงานหาเช้ากินค่ำก็ไม่พอจะกิน พวกที่จนก็จนเอาจนเอา พวกที่รวยก็รวยจนไม่ลืมหูลืมตา ผมก็ขอแบ่งฐานะทางการเงินดังนี้ก็แล้วกับครับ

  1. จนสุจริต คือ พวกที่ทำมาหากินแบบสุจริตไม่เบียดเบียนใคร แต่โชคไม่เข้าข้างทำอะไรก็ไม่ประสบความสำเร็จ แถมยังถูกคตโกงอีกต่างหาก
  2. จนทุจริต คือ พวกที่ทำมาหากินบ้างไม่ทำบ้าง หากินยังไม่พอจะยาใส้แต่กลับยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข เที่ยวเตร่ เล่นการพนัน ติดยาเสพติด
  3. รวยสุจริต คือ พวกที่ทำมาหากินแบบสุจริตไม่เบียดเบียนใคร แต่โชคและดวงเข้าข้างทำอะไรก็ประสบความสำเร็จ ถูกที่ถูกเวลา หรือเรียกง่ายๆ ว่าเฮง
  4. รวยทุจริต คือ พวกที่ทำมาหากินบนหลังคนอื่น ชอบเบียดเบียน คตโกงสารพัด

        ผมขอแบ่งประเภทฐานะทางการเงินได้เพียงเท่านี้ครับ แต่ที่ผมสนใจมากที่สุดคือพวกที่ “รวยทุจริต” ผมเคยได้ฟังข่าวอยู่บ่อยๆว่าประชาชนถูกโกงหลายร้อยหลายพันล้าน ด้วยกลวิธีต่างๆนาๆ ผมเลยคิดว่าไอ้พวกนี้มันเก่งนะ สามารถทำให้ผู้อื่นส่งเงินส่งทองมาให้มันจนหมดเนื้อหมดตัวได้โดยไม่ต้องออกแรงทำงานเลย ที่เรียกว่า “โกง” นั้นแหละ พอโดนจับได้ก็ทำทีเจราจาให้ผู้เสียหายยอมคืนทรัพย์สินยอมความคดีก็จบไป หรือไม่ผู้เสียหายไม่ยอม ก็ติดคุกไม่กี่ปี โกงครั้งเดียวก็ไม่เกิน  3 ปี ถ้าโกงหลายครั้ง ก็ครั้งละ 3 ปี แต่นำจำนวนปีมารวมกันแล้วก็ไม่เกิน 10 ปี พ้นโทษมาก็ออกมาใช้ทรัพย์สินเงินทองที่โกงมาอย่างสบายใจ เพราะก่อนโดนจับมันก็เอาไปฝากไปซ่อนไว้เรียบร้อยแล้ว มีทั้งซ่อนตามความเป็นจริง และการซ่อนในทางกฎหมาย(อย่าลืมนะครับว่าตอนนี้เราคุยกันถึงทางอาญา ไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องทางแพ่ง) เห็นหรือเปล่าครับว่าโทษน้อยมาก และยังเป็นความผิดที่ยอมความได้อีกต่างหาก ไม่เชื่อก็ดูประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 บัญญญัติว่า “ผู้ใดทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็จเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม....ผู้นั้นกระทำความผิด ฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำและปรับ” เห็น ไหมครับครับว่าโทษน้อยนิดมาก โกงเขาจนหมดเนื้อหมดตัวบางคนทำมาหาเก็บมาทั้งชีวิตแต่ต้องมาหมดตัวเพราะถูก โกงเพียงครั้งเดียว ผมเลยนึกถึงสุภาษิตที่ว่า “โจรปล้นสิบ ครั้งไม่เท่ากับไฟไหม้ครั้งเดียว ไฟไหม้สิบครั้งไม่เท่ากับเล่นการพนันครั้งเดียว” ผมเลยขอต่อสุภาษิตนี้อีกว่า เล่น การพนันสิบครั้งไม่เท่ากับถูกโกงครั้งเดียว แต่ถ้าเล่นการพนันแล้วถูกโกง ผมขอสมน้ำหน้าจากใจจริง เห็นได้ว่าโจรปล้นมันก็เอาไปได้เท่าที่มันเห็นและยกไปได้เท่านั้น ไม่เหมือนการฉ้อโกงไม่ว่าทรัพย์สินเจ้าของจะเก็บไว้ดีแค่ไหนก็เอาออกมาหยิบยื่นให้ไอ้โกงโดยไม่ต้องออกแรงเลย แต่ผมไม่ติดใจเรื่องความผิดฐานปล้นทรัพย์หรอกว่าทำไมโทษสูงเพราะการปล้นทรัพย์นั้นจะต้องใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายด้วย แต่ผมแอบมองเห็นองค์ประกอบของความผิดฐานปล้นทรัพย์ คือ ลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334 ที่บัญญัติว่า  “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท” เห็นได้ว่าโทษจำคุกเท่ากับข้อหาฉ้อโกงตามมาตรา 334 ต่างกันที่ความผิดฐานลักทรัพย์เป็นความผิดอาญาแผ่นดินยอมความไม่ได้ ส่วนควาผิดฐานฉ้อโกงเป็นผิดที่ยอมความได้ ลองดูตารางเปรียบเทียบเล่นๆนะครับ

สาเหตุ
มาตรา 334 ลักทรัพย์ มาตรา 341 ฉ้อโกง
1. ทรัพย์ที่เสียไป เท่าที่ขโมยเห็นและมีปัญญายกไป เท่าที่ผู้เสียหายมีหรือให้จนหมดตัว
2. ความรู้สึก ของผู้เสียหาย ซวยจริงๆ ไม่เป็นไรหายแล้วหาใหม่ได้ หมดแล้วหามาทั้งชีวิต
3. โทษ จำคุกไม่ เกิน 3 ปี ปรับไม่เกินสามพันบาท จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกินสามพันบาท
4. ผลความผิด อาญาแผ่นดิน ยอมความไม่ได้ แม้จะคืนทรัพย์ที่ลักมา คดีไม่จบ ยอมความได้ เมื่อผู้เสียหายยินยอม คดีก็จบ
5. จุดเปลี่ยน รักซาลาเปาลูกเดียวก็ยอมความไม่ได้ ฉ้อโกง ทรัพย์ทั้งบริษัทก็ยอมความได้

         จะเห็นได้ว่าโทษของความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 นั้นมันยวนใจพวกที่ชอบทำนาบนหลังคนมากและไม่ต้องเสี่ยงภัยมากเหมือนลัก ทรัพย์ที่ต้องเสี่ยงค่อยหาทางหลบหลีกที่เข้าไปหาทรัพย์และจะต้องพาทรัพย์ออก มา ซึ่งต่างกลับการฉ้อโกงเพียงใช้สมองแกมโกงก็สามารถให้เจ้าของเอาทรัพย์มาหยิบ ยื่นให้เองถึงที่ ปัญหาการฉ้อโกงจึงมีเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากปัจุบันนี้เห็นได้ว่าการฉ้อโกงแต่ละครั้งจะได้ทรัพย์สินไปเป็น ร้อยล้านพันล้าน บางคนหมดเนื้อหมดตัวเลยทีเดียวแต่การลงโทษผู้กระทำความผิดยังไม่สอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบัน การลงโทษจำคุกก็เพียงไม่เกินสามปีปรับไม่เกินพันบาท และยังสามารถยอมาความกันได้อีก กระผมในฐานะนักกฎหมายคนหนึ่ง ผมว่าการฉ้อโกงในปัจจุบันนี้ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้เสียหายเป็นอย่าง มาก จากความคิดของผมควรจะมีการเพิ่มโทษในความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ให้หนักขึ้นอีกและเปลี่ยนบทจากความผิดที่ยอมความได้เป็นความผิดอาญาแผนดิน เพื่อป้องปรามผู้ที่คิดกระทำความผิด

          ท้ายนี้กระผมขอฝากแนวคิดของผมให้ท่านผู้อ่านลองคิดดูว่าเหมาะสมหรือสมควร เพียงใดครับ หากท่านผู้อ่านมีความคิดเห็นหรือข้อติชมประการใด สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ด้านล่างบทความนี้ครับ หรือที่ เมล์ siravin@law4v.com ครับ  หากเป็นไปได้ช่วยแนะนำบุคคลอื่นด้วยนะครับ เพื่อเรื่องนี้จะรู้ถึงกฤษฎีกาบ้าง ครับ

สิรวิญช์  แสนเกตุ

ผู้เรียบเรียง

Tags :