หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,840
Page Views 1,510,097
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

เครื่องหมายการค้า

เครื่องหมายการค้า

ปลอมเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนต่างประเทศ ต้องรับผิดทางอาญาตามกฎหมายไทยหรือไม่?

         พ.ร.บ.เครื่อง หมายการค้า พ.ศ.2474 (เดิม) มิได้บัญญัติความผิดอาญาเกี่ยวกับการปลอมเครื่องหมายการค้าไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น การฟ้องคดีอาญาในขณะนั้นจึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 273 ซึ่งคุ้มครองเครื่องหมายการค้าทั้งที่จดในและนอกราชอาณาจักรมาใช้บังคับ แต่พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2535 (ปัจจุบัน) ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดอาญาดังกล่าวไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 108 จึงมีประเด็นทางกฎหมายว่า กรณีปลอมเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนต่างประเทศ ผู้นั้นจะต้องงรับผิดทางอาญาตามกฎหมายไทยหรือไม่?

         แม้พ.ร .บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 จะได้มีบทบัญญัติถึง ความรับผิดทางอาญาไว้โดยเฉพาะในมาตรา 108 ซึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลใดปลอมเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"  แต่เนื่องจาก พ.ร.บ.เครื่องหมายทางการค้า พ.ศ.2534 ได้บัญญัติโทษ ทางอาญาหนักกว่าโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 273 ซึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ใดปลอมเครื่องหมายทางการค้าของผู้อื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภายในหรือนอกราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" และพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯดังกล่าวก็มีบทบัญญัติคุ้มครองเครื่องหมายการ ค้าที่จดทะเบียนตามกฎหมายต่างประเทศ (เช่น บทคุ้มครองเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายมาตรา 8(10),การขอให้เพิกถอนการลักลอบนำเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นมาจด ทะเบียนในไทยตามมาตรา 67) อีกทั้งยังไม่มีบทกฎหมาย ใดยกเลิกป.อ.ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้ที่จดทะเบียนในราช อาณาจักรและบทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้ขัดหรือแย้งกับบทมาตรา 108 แห่งพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ บทบัญญัติดังกล่าวจึงมีผลบังคับใช้อยู่ (ฎ.1835/2545)

          ดังนั้น การที่ผู้เสียหายไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในราชอาณาจักรจึงไม่อาจ ถือได้ว่าผู้เสียหายไม่ประสงค์จะได้รับความคุ้มครองเกี่ยวกับเครื่องหมายการ ค้าของตนในประเทศไทย (ฎ.1719/2545) เมื่อ ผู้ใดมาทำการปลอมเครื่องหมายทางการค้าของตน แม้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะได้จดทะเบียนที่ต่างประเทศ แต่ผู้ที่กระทำความผิดก็ต้องรับโทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 273

Tags :