หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,840
Page Views 1,510,092
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

เลิกจ้างอย่างไรไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

เลิกจ้างอย่างไรไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

          โดยปกติเมื่อนายจ้างตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานแล้ว  นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดไม่ได้  หากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความ ผิด  นอกจากลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากนาย จ้างแลว  ลูกจ้างยังอาจใช้สิทธิฟ้องนายจ้างต่อศาลแรง งานเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้อีกด้วย

          แต่หากนายจ้างมีสถานประกอบการหลายแห่งหรือเรียกง่าย ๆ ว่ามีหลายสาขา  และนายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุด ประกอบกิจการบางสาขา  นายจ้างอาจขอให้ลูกจ้างไป ปฏิบัติงานยังสาขาที่เปิดกิจการอยู่ แม้ลูกจ้างจะต้องลำบากในการเดินทางไกลกว่าสถานที่ทำงานเดิม  ลูกจ้างก็ต้องทน  หากลูกจ้างไม่ยอมทำตามคำ สั่งนายจ้าง  โดยไม่ยอมไปทำงานยังสาขาอื่นอันเป็น สถานที่ทำงานใหม่  นายจ้างอาจใช้สิทธิเลิกจ้างได้  และกรณีดังกล่าว  นายจ้างอาจไม่ ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างด้วย  ดังที่ศาลฎีกาได้ วินิจฉัยตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่  3198-3199/2551 ว่า การที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทั้งแปดสิบสองคน  ซึ่ง เป็นลูกจ้างทำงานอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรีไปทำงานที่จังหวัดสมุทรปราการ  เนื่องจากสถานที่ทำงานที่จังหวัดปราจีนหมดสัญญาเช่า  และนายจ้างเสนอให้เงินช่วยเหลือเป็นค่าเช่าบ้านแก่ ลูกจ้างคนละเดือนละ 1,000 บาท  โดย การทำงานที่ใหม่มีตำแหน่งและค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม  แต่ ลูกจ้างกลับไม่ตอบรับนายจ้างและเมื่อถึงกำหนดเวลา  ลูกจ้าง กลับไม่ไปปฏิบัติยังสถานที่ทำงานแห่งใหม่ตามที่นายจ้างมีคำสั่ง  กรณีดังกล่าวถือได้ว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่การงาน  และหากลูกจ้างไม่ไปทำงานเกิน 3 วัน ย่อมเป็นกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันติดต่อกัน  การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุดังกล่าว  นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย  และ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมด้วย

Nitirathphum Law Office

Tags :