หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,831
Page Views 1,510,072
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

พยายามตามความหมายของกฎหมาย

พยายามตามความหมายของกฎหมาย

          พยามยามตามความเข้าใจของคนทั่วไปอาจหมายถึง  ความต้องการที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ  เมื่อได้ลงมือกระทำแล้วแม้ไม่ประสบความสำเร็จก็ถือว่ามีความพยายามหรือได้ใช้ความพยายามแล้ว  แต่ในทางกฎหมาย  “พยามยาม” มี 2  ประเภท คือ  พยามธรรมดา  กับ พยายามที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้  ในวันนี้จะยังไม่อธิบายถึงประเภทของ “พยายาม”  ตามความหมายของกฎหมายทั้งสองประเภท  แต่จะพูดถึง “พยายามธรรมดา” เพียงประเภทเดียว

           “พยายามธรรมดา”  หรือ “พยายาม”  เฉยๆนั้น  ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 80  บัญญัติว่า “ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด  หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่ การกระทำไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด

           ผู้ใดพยายามกระทำความผิด  ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น”

          บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าว  แสดงว่ากฎหมายบัญญัติว่า  แม้เพียงการพยายามกระทำความผิด  ก็เป็นความผิดตามกฎหมายและต้องได้รับโทษแล้ว

         ความสำคัญที่จะดูว่า  การกระทำอย่างไรถึงขึ้นเป็นพยามยามหรือยัง ต้องดูว่ามีการลงมือกระทำความผิดหรือยัง  เพราะตามบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติว่า  “ผู้ใดลงมือกระทำความ ผิด แต่กระทำไปไม่ตลอด...”  แสดงให้เห็นว่าต้องมีการลงมือ กระทำความผิดแล้ว  แต่กระทำไปไม่ถึงที่สุด  หรือกระทำไปถึงที่สุดแล้วแต่การกระทำไม่บรรลุผล  ตัวอย่างง่าย ๆ เช่นเอาปืนยิงผู้อื่น  แต่คนถูกยิงไม่ตาย  คนยิงก็อาจผิดเพียงพยายาม 

        อธิบายอย่างนี้  ฟังดูเหมือนง่าย  แต่หากเป็นคดีขึ้นศาลจริง ๆ ก็ไม่ง่ายนะครับ  เพราะเพียงแต่จะพิจารณาว่า  การกระทำความผิดนั้น ๆ มีการกระทำถึงขั้นลงมือหรือยัง ก็ต้องพิจารณากันถึงสามศาลละครับ

         ดัง ตัวอย่างที่ศาลฎีกาเพิ่งจะตัดสินเมื่อเร็ว ๆ นี้  ซึ่งเป็นเรื่องการขายและส่งมอบยาเสพติด  ตามข้อเท็จจริงในคำพิพากษาปรากฏว่า  ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าทำการตรวจค้นจับกุมยังมิได้มีการส่งมอบกัญชาต่อกัน  กัญชาจำนวนมากยังอยู่ในกระสอบ  ยังไม่ได้แบ่งกัญชาที่จะส่งมอบออกจากกัญชาทั้งหมด  ซึ่งศาลฎีกาเห็นว่าตามพฤติการณ์ ดังกล่าวยังมีขั้นตอนอีกหลายกระบวนการกว่าจะส่งมอบกัญชาที่จะทำการซื้อขายกัน จึงยังไกลเกินกว่าจะที่รับฟังว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามจำหน่ายกัญชา  ศาลฎีกาจึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยไป

Nitirathaphum Law Office

Tags :