หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,831
Page Views 1,510,071
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

ผู้ประกอบวิชาชีพพึงระวัง

ผู้ประกอบวิชาชีพพึงระวัง

           ผู้ประกอบวิชาชีพ  เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพโดยอาศัยความ รู้  ดังนั้น  ในการประกอบ วิชาชีพต่าง ๆ จึงมีองค์กรทางวิชาชีพที่ดูแลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ  การควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพโดยองค์กรทางวิชาชีพดังกล่าว เป็นการควบคุมทางจริยธรรม  หรือการควบคุมจรรยาบรรณ

          โดยทั่วไปการควบคุมผู้ ประกอบวิชาชีพทางจริยธรรมหรือทางจรรยาบรรณ  เป็นการ ควบคุมโดยการออกใบอนุญาตหรือการพักใช้ใบอนุญาตหรือการเพิกถอนใบอนุญาต  เช่นในกรณีของแพทย์  หากแพทย์ผู้ ใดกระทำผิดจรรยาบรรณ  แพทย์สภาก็จะเป็นหน่วยงานตรวจ สอบและลงโทษ  หรือกรณีของวิศวกร  สภา วิศวกรก็จะเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบและลงโทษ  หากเป็น ทนายความก็มีสภาทนายความเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบและลงโทษ

            การควบคุมทางจริยธรรมหรือ การควบคุมจรรยาบรรณ  เป็นการควบคุมมิให้ผู้ประกอบ วิชาชีพ  ใช้วิชาชีพของตนไปในทางที่ไม่ถูกต้อง  เช่น  ใช้ไปในทางที่เป็นการหา ประโยชน์จากบุคคลอื่น  เอาเปรียบผู้อื่น  หรือเอาเปรียบสังคม

          การควบคุมทางจริยธรรมหรือ การควบคุมจรรยาบรรณ  เป็นการควบคุมการประกอบวิชาชีพ เบื้องต้น  เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบวิชาชีพใช้วิชาชีพ ของตนในทางที่เป็นการหาประโยชน์จากบุคคลอื่น  แต่หาก การประกอบวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพ  กระทำบุคคอื่น ได้รับความเสียหาย  นอกจากผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องรับ ผิดชอบในทางจริยธรรมหรือทางจรรยาบรรณแล้ว  ผู้ประกอบ วิชาชีพยังต้องรับผิดต่อผู้อื่นในทางกฎหมายด้วย

           ความรับผิดของผู้ประกอบ วิชาชีพในทางกฎหมาย  มีลักษณะคล้ายกับความรับผิดของ บุคคลทั่วไป  กล่าวคือ  ในทาง แพ่ง  ผู้ประกอบวิชาชีพต้องรับผิดต่อบุคคลอื่นตาม ประมวลกฎหมายแพ่ง  เช่นหากการประกอบวิชาชีพของตนได้ กระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย  ผู้ ประกอบวิชาชีพก็ต้องรับผิดในผลแห่งความประมาทเลินเล่อที่ตนได้กระทำขึ้น  หรือหากเป็นกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพกระทำโดยประมาท เลินเล่อ  และในการประมาทเลินเล่อดังกล่าวนั้น  เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัส  หรือ ถึงแก่ชีวิต  กรณีนี้  ผู้ ประกอบวิชาชีพก็ต้องรับผิดในความประมาทนั้นตามประมวลกฎหมายอาญา

ผู้ประกอบวิชาชีพกับบุ คคทั่วไป  มีความแตกต่างกันที่ผู้ประกอบวิชาชีพเป็น ผู้มีความรู้ในสิ่งที่ตนเองกระทำ  แต่บุคคลทั่วไปอาจ จะไม่รู้ในสิ่งที่ตนเองกระทำ   ดังนั้น  ความรับผิดในทางกฎหมายของผู้ประกอบวิชาชีพจึงแตกต่างจาก ความรับผิดของคนทั่วไป  ดังที่ปรากฏในคำพิพากษาของ ศาลฎีกา  ในคดีที่เกี่ยวกับวิศวกรผู้ออกแบบโครงสร้าง ของอาคาร  ได้ออกแบบต่อเติมอาคารโดยทราบดีอยู่แล้ว ว่าอาคารเดิมรับน้ำหนักอาคารส่วนที่ต่อเติมไม่ได้  แต่ ยังคงใช้ตัวอาคารและฐานรากของอาคารเดิมรับน้ำหนัอาคารส่วนที่ต่อเติม  ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  “การกระทำดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามวิธีการอันพึง กระทำในการออกแบบ  เมื่ออาคารเดิมจำเลยไม่ได้เป็นผู้ ออกแบบ  แต่จำเลยพบเห็นว่าสภาพอาคารเดิมก่อสร้างผิด ไปจากแบบ  จำเป็นอย่างยิ่งที่จำเลยจะต้องหาข้อมูลที่ ถูกตองมากที่สุดว่า  อาคารเดิมมั่นคงแข็งแรงพอจะรับ น้ำหนักส่วนที่ต่อเติมได้หรือไม่  แต่จำเลยไม่ได้ กระทำ   ดังนั้นการที่อาคารพังทลายจนเป็นเหตุให้ บุคคลอื่นถึงแก่ความตายจึงเป็นผลจากการกระทำของจำเลย”

ผู้สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้ จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2543

Nitirathphum Law Office

Tags :