หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,841
Page Views 1,510,100
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

ภาระภาษีกรณีเลิกกิจการของบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด

ภาระภาษีกรณีเลิกกิจการของบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด

ภาระภาษีกรณีเลิกกิจการของบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด

         การเลิกบริษัท (เอกชนหรือมหาชน) มีการแตกต่างจากการควบบริษัท  แม้ว่าสถานะของบริษัทที่ถูกควบเข้านั้นจะเลิกไปแต่ผลของการควบกันนั้น  ยังคงมีบริษัทอันเกิดจากการควบอยู่  และในเรื่องภาระภาษีก็ต่างกัน  แต่การเลิกบริษัทนั้น  สถานะของบริษัทเดิมไม่มีอีกต่อไป

         เมื่อเลิกบริษัทแล้ว  ความรับผิดทางภาษี  ( tax  liability )  มีดังต่อไปนี้คือ
        ตามประมวลรัษฎากร  มาตรา  72  ได้วางหลักไว้ว่า    ในกรณีที่บริษัทเลิกกัน  ให้ผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการมีหน้าที่ร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินทราบ การเลิกบริษัทภายใน  15  วัน  นับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก

         ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามเจ้าพนักงานประเมินอาจสั่งให้บริษัทนั้นเสีย ภาษีเพิ่มอีก  1  เท่า  ของจำนวนภาษีที่ต้องเสีย  เงินนี้ถือเป็นค่าภาษี

        ในกรณีที่บริษัทเลิกกันดังกล่าวแล้ว  เพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษี  ให้ถือว่าวันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลา บัญชี  ให้ผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการมีหน้าที่และความรับผิดร่วมกันในการยื่นรายการ และเสียภาษีตามแบบและภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา  68  และมาตรา  69  โดยอนุโลม  (  การเลิกกิจการตามประมวลรัษฎากกรนั้น  ถือเอาวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิกเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ปีที่เลิก )

       ถ้าผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีภายใน กำหนดเวลาดังกล่าวได้  ก็ให้ยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพกรภายในกำหนด  30  วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก  เมื่ออธิบดีเห็นสมควรจะสั่งให้ขยายระยะเวลาออกไปอีกก็ได้  เฉพาะกรณีที่มีการชำระบัญชี  อธิบดีจะสั่งให้ขยายระยะเวลาออกไปอีกด้วยก็ได้

          การคำนวณกำไรสุทธิหรือการขาดทุนสุทธิทางภาษี  เมื่อบริษัทเลิกกันการคำนวณกำไรสุทธิหรือการขาดทุนสุทธิ  ย่อมเป็นไปตามมาตรา  74  มีหลักว่า  ในกรณีที่บริษัทเลิกกันการคำนวณกำไรสุทธิเป็นไปตามวิธีการในมาตรา  65  มาตรา  65 ทวิ  และมาตรา 66  เว้นแต่

         (1)  การตีราคาทรัพย์สิน ให้ตีราคาตลาดในวันเลิก
กล่าวคือ   การตีราคาทรัพย์สิน  เป็นไปตามมาตรา 65 ทวิ (3) ประกอบมาตรา  65 ทวิ (17 )  มีความ
แตกต่างจาก  การตีราคาสินค้าคงเหลือ  ตามมาตรา  65 ทวิ (6)
        (2)  เงินสำรอง  หรือเงินกำไร  ยกมาจากรอบระยะบัญชีก่อน ๆ เฉพาะส่วนที่ยังไม่ได้เสียภาษเงินได้  ให้นำมารวมคำนวณเงินได้ในรอบระยะบัญชีสุดท้ายด้วย ( เงินสำรอง , เงินกำไรเฉพาะส่วนที่ยังไม่ได้เสียภาษีเท่านั้น  ที่ต้องโอนกลับเป็นกำไรสุทธิเสียภาษีเงินได้ในปีที่เลิกกิจการ

          ภาษีมูลค่าเพิ่ม  เมื่อมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบ กิจการ  ในวันที่เลิกบริษัท  ถือว่าเป็นการขายตามมาตรา  77/1 (8) (ฉ) จะเห็นได้ว่า  กฎหมายให้ถือว่า  ขาย  ซึ่งผู้ประกอบการต้องรับผิด  นอกจากนี้ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องแจ้งการเลิกกิจการ  ณ  สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน15  วัน  นับจากวันเลิกประกอบกิจการ  ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้พร้อมกับการแจ้งเลิกประกอบ กิจการตามมาตรา  85/15

        ภาษีธุรกิจเฉพาะในการเลิกกิจการมาตรา 91/21  ให้นำบทบัญญัติในหมวด 4 คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้บังคับโดยอนุโลม  คือ  การเลิกกิจการของธุรกิจที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา  91/2(1)-(8)ให้เป็นไปตามมาตรา  85/15  ที่กล่าวมาข้างต้น

Tags :

3 ความคิดเห็น

  1. 3
    รูปประจำตัว
    lv jimmy@msn.com 12/05/2011 08:26
    toddler bedding comforter sets wooden charms with brushed silver tone accents kid bedding daybed bedding queen duvet covers they once were Good quality blue bedding sets the top brands of watches being sold today in no sofa pillows contemporary bedding.
  2. 2
    รูปประจำตัว
    มาดาม romsukpress@yahoo.com 15/12/2010 22:31
    ดิฉันทำธุรกิจเล็ก ๆ กับสามี โดยดิฉันเป็นคนจะทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในนามร้านค้า ต่อมาดิฉันกับสามี มีปัญหาต้องเลิกลากัน  สามีไปจดทะเบียนร้านค้าใหม่  ดิฉันก็จดทะเบียบเลิกกิจการ มีเครื่องจักร ซึ่งทำงานตั้งแต่เริ่มแรก โดยซื้อจากของเก่ามาใช้ และใช้มาแล้วไม่ตํ่ากว่า 15 ปี  ดิฉันหย่ากับสามีโดยแบ่งเครื่องจักรดังกล่าวให้สามี  ดิฉันต้องตีราคาเพื่อจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มหรือในเมื่อดิฉันไม่ได้ขายและก็ไม่ใช่ของดิฉันคนเดียวตั้งแต่แรก เราทำร่วมกันก็เป็นของสามี 1 ส่วน แต่้ทางสรรพากรให้ดิฉันจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มจากคำนวนทรัพย์ทีี่ตีราคาด้วยภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% กรุณาตอบให้กระจ่างด้วยค่ะ ในเมื่อดิฉันกับสามีเราแบ่งทรัพย์สินที่มีอยู่ของเราเองค่ะ
  3. 1
    รูปประจำตัว
    เด 19/01/2010 20:05
    ดีมาก

แสดงความคิดเห็น

*

*