หน้าหลัก    เกี่ยวกับเรา   การบริการทางวิชาชีพด้านกฎหมาย   การบริการทางบัญชี   บริการรับแปลเอกสาร   บทความ   เว็บบอร์ด   ติดต่อเรา   คุยกับกรรมการผู้จัดการ 


แพ่งและพาณิชย์ทั่วไป

ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การค้าระหว่างประเทศ

กฎหมายปกครอง

แรงงาน

ทรัพย์สินทางปัญญา

การเงินธนาคาร ประกันภัย...

ภาษีอากร

คดีผู้บริโภค

กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาญาและกฎหมายเกี่ยวกับนักการเมือง

 
เปิดเว็บไซต์ 18/02/2009
ปรับปรุง 04/03/2024
สถิติผู้เข้าชม 1,210,828
Page Views 1,510,061
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

บทความ

กฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท

คดีผู้บริโภค

กฎหมายอาญา

กฎหมายแรงงาน

 

ความหมายประเภทของเงินได้พึงประเมินและการรับรู้รายได้ของบุคคลธรรมดา

ความหมายประเภทของเงินได้พึงประเมินและการรับรู้รายได้ของบุคคลธรรมดา

ความหมายประเภทของเงินได้พึงประเมินและการรับรู้รายได้ของบุคคลธรรมดา
 
ความหมายของเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร  คือ เงินได้ที่บุคคลธรรมดา (ม.56-ม.57เบญจ) ได้รับนั้นไม่ว่าจะเป็นเงินที่ได้มาจากแหล่งใด  เงินได้ที่กล่าวมานั้นในกรอบของกฎหมายภาษีถือเป็นเงินได้พึงประเมิน  เป็นเงินได้ที่ผู้เสียภาษีมีหน้าที่แสดงเงินได้ของตน  และยื่นชำระภาษีให้ภูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด  แต่ถ้ามีการคำนวณภาษีไม่ถูกต้อง  หรือมีเหตุที่น่าสงสัยในเรื่องเงินภาษีที่ยื่นแบบคำนวณไว้  กฎหมายให้เจ้าหน้าที่มีสิทธิตรวจสอบข้อเท็จจริงจากผู้เสียภาษีได้  ความหมายของเงินได้พึงประเมินตามกฎหมายนั้นสามารถแยกได้ดังนี้
       เงินได้พึงประเมินตามมาตรา  39 แห่งประมวลรัษฎากรได้ให้ความหมายไว้ว่า
          1.เงิน มีความหมายเป็นได้ทั้งเงินไทย หรือเงินตราต่างประเทศ
          2.ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน หมายถึงทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง ที่ได้รับ (มาแล้วจริงๆ ในปีภาษีนั้นๆ)และสามารถคิดคำนวณได้เป็นเงิน  เช่น รถยนต์ บ้าน นาฬิกา สร้อยคอ เป็นต้น
          3.ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน หมายถึงประโยชน์ที่ได้รับ (มาแล้วจริงๆ ในปีภาษีนั้นๆ)มาที่ไม่ใช่ตัวเงิน ไม่ใช่ทรัพย์สิน แต่ประโยชน์ที่ว่านี้สามารถคิดคำนวณเป็นเงินได้ เช่น การที่นายจ้างให้การอุดหนุนแก่ลูกจ้างในรูปของที่อยู่อาศัย อาหารกลางวัล เป็นต้น
          4.เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้  เงินค่าภาษีถือว่าเป็นเงินได้  คือ เงินนค่าภาษีที่ออกให้ถอดใดถือเป็นเงินได้ของถอดนั้น เงินค่าภาษีที่ออกให้เงินได้ประเภทใดถือเป็นเงินได้ประเภทนั้น  เงินค่าภาษีที่ออกให้สำหรับเงินได้ของปีใดถือเป็นเงินได้ของปีภาษีนั้น
          5.เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด คือเงินปันผลนั้นครั้งหนึ่งก็คือกำไรสุทธิ ซึ่งได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมาแล้ว เมื่อมีการจ่ายเงินปันผลมาให้บุคคลธรรมดาอีก ทำให้ต้องเสียภาษีในเงินปันผลนี้อีกครั้งหนึ่ง จะเห็นได้ว่าเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อนในเงินปันผลดังกล่าว  ดังนั้นเพื่อเป็นการบันเทาภาระภาษีจึงมีการให้เครดิตภาษีในเงินปันผล  ตามที่กฎหมายกำหนดในมาตรา 47 ทวิ
ประเภทของเงินได้พึงประเมิน 
          ประมวลรัษฎากรได้แบ่งเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภท คือ
   มาตรา 40(1) เงินได้จากการจ้างแรงงงานและประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับจากการจ้างแรงงาน
   มาตรา 40(2) เงินได้จากการจ้างทำของและประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับจากการจ้างทำของ
   มาตรา 40(3) เงินได้จากค่าสิทธิ
   มาตรา 40(4) เงินได้จากดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งจากกำไร
   มาตรา 40(5) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
   มาตรา 40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
   มาตรา 40(7) เงินได้จากการรับเหมา
   มาตรา 40(8) เงินได้จากการธุรกิจการพาณิชย์
จากการที่กล่าวมาแบ่งเงินได้พึงประเมินออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
          เงินได้พึงประเมินประเภท Paassive Income  ได้แก่ เงินได้ตามมาตรา 40(3) ,40(4),40(5) คือ เงินได้ที่ผู้มีเงินได้มิได้มาส่วนร่วมใวนการประกอบการที่ทำให้เกิดเงินได้
          เงินได้พึงประเมินประเภท Active Income  ได้แก่เงินได้ตามมาตรา 40(1),40(2),40(6),40(7) ,40(8) คือเงินได้ที่ผู้มีเงินได้มีส่วนร่วมใสนการประกอบการที่ทำให้เกิดเงินได้
เกณฑ์การรับรู้รายได้ของบุคคลธรรมดา
          การเสียภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาจะใช้เกณฑ์เงินสดคือ เงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษีใดย่อมเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในปีภาษีนั้น(เว้นแต่มีกฎหมายยกเว้นเงินได้ที่ได้รับ  ให้ไม่ต้องเสียภาษี เช่น มาตรา 42,กฎกระทรวง,พระราชกฤษฏีกา เป็นต้น ) คำว่าได้รับคือ ได้รับมาแล้วจริงๆ ไม่ใช่สิทธิคิดว่าได้รับเช่น
บริษัท ข ได้จ่ายเงินให้นาย ก ในกรณีที่ว่าจ้างนาย ก เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 20,000,000 ในการชำระเงินนั้น  ในสัญญาว่าจ้างได้มาการตกลงแบ่งชำระกันเป็น 2 งวด คือ งวดแรกในปีพ.ศ. 2552  เป็นเงินจำนวน 10,000,000   และงวดที่ 2 พ.ศ. 2553 เป็นเงิน 10,000,000 ในการเสียภาษีปี พ.ศ. 2552 นาย ก ต้องเสียภาษีในเงินจำนวน10,000,000 เท่านั้นเพราะเป็นเงินที่ได้รับมาแล้วกับเงินได้อื่นถ้ามี  มิได้เสียภาษีในจำนวนเงิน 20,000,000 เต็มจำนวน  และส่วนที่เหลือแม้ว่าจะมีการกำหนดว่าจะจ่ายเงินกันในปีพ.ศ. 2553 แต่ถ้ามิได้มีการจ่ายกันจริงแต่จ่ายในปีอื่นเช่นจ่ายในปีพ.ศ. 2553 ย่อมเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีปี พ.ศ. 2553
 
ปล.ความหมายของเงินได้พึงประเมินเป็นสิ่งที่ทำให้ทราบว่ารัฐจัดเก็บเงินได้อะไรจากผู้เสียภาษี  และเงินได้ที่จัดเก็บนั้นครอบคลุมถึงอะไรบ้างเพราะอาจมีบางคนเข้าใจว่าเงินได้ก็คือเงินตราที่ใช้ทั่วไป  ซึ่งเป็นความหมายที่ 1 เท่านั้น  การที่รัฐขยายฐานการจัดเก็บภาษีออกไปเช่นนี้เพราะต้องการรายได้ไปเข้าคลังของรัฐเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศใสนด้านต่างๆ  ดังนั้น ทุกคนควรเสียภาษีเพื่อประเทศชาติของเรานะค๊ะ
 
Napolean

Tags :

231 ความคิดเห็น

  1. 211
    รูปประจำตัว
  2. 210
    รูปประจำตัว
  3. 209
    รูปประจำตัว
  4. 208
    รูปประจำตัว
  5. 207
    รูปประจำตัว
  6. 206
    รูปประจำตัว
  7. 205
    รูปประจำตัว
  8. 204
    รูปประจำตัว
  9. 203
    รูปประจำตัว
  10. 202
    รูปประจำตัว

แสดงความคิดเห็น

*

*